DSpace Repository

การวิเคราะห์การกระจายของแรงเค้นด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ในฟันปลอมชนิดไฮบริดที่พื้นผิวประชิดของรากเทียมและกระดูกอันเป็นผลมาจากจำนวนรากเทียมและตำแหน่งของรากเทียม

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภาณุพงศ์ วงศ์ไทย
dc.contributor.author อัญชลี ตั้งจาตุรนต์รัศมี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-11-12T10:20:04Z
dc.date.available 2012-11-12T10:20:04Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9741703848
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23850
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en
dc.description.abstract งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการกระจายของแรงเค้น ณ ตำแหน่งพื้นผิวประชิดของกระดูกและรากเทียมซึ่งรองรับฟันปลอมชนิดไฮบริดอันเป็นผลมาจากรากเทียมที่รองรับฟันปลอมชนิดไฮบริดมีจำนวนและลักษณะการเรียงตัวในลักษณะที่ต่างกันสองแบบ โดยใช้แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ (Finite element model) ซึ่งการเรียงตัวของรากเทียมทั้งสองแบบยังคงระยะระหว่างรากเทียมตัวหน้าสุดและหลังสุด (Anteroposterior spread) ให้คงที่เท่ากับ 10 มม. เตรียมแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์รูปขากรรไกรล่างไร้ฟันจากภาพถ่ายรังสีคอมพิวเตอร์โทโมกราฟ (Computer tomography) ของผู้ป่วยรายหนึ่งในแผนกรังสีวินิจฉัย รพ.จุฬาลงกรณ์ แล้วกำหนดตำแหน่งที่จะใส่รากเทียมตามความโค้งของขากรรไกรหน้าต่อรูเปิดข้างคาง (mental foramen) แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์กลุ่มแรกจากมีรากเทียมจำนวน 3 รากเทียม และแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์กลุ่มที่สองมีรากเทียมจำนวน 5 รากเทียม สร้างฟันปลอมชนิดไฮบริดทับบนรากเทียมในแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ โดยกำหนดให้ส่วนยื่นด้านท้ายของฟันปลอมชนิดไฮบริดมีความยาวไปทางด้านหลังต่อรากเทียมตำแหน่งสุดท้าย 20 มม. จากนั้นจึงกำหนดแรงซึ่งสมมติเป็นแรงบดเคี้ยวที่มีทิศทางตั้งฉากกับระนาบบดเคี้ยวลงที่บนด้านบดเคี้ยวของฟันปลอมในทั้งสองแบบจำลอง ลักษณะของแรงบดเคี้ยวถูกแบ่งออกเป็นสองตอนคือ ในตอนที่หนึ่งแรงบดเคี้ยวจะกระจายลงโดยตลอดด้านบดเคี้ยวของฟันปลอมไฮบริด บริเวณฟันหลังแรงบดเคี้ยวมีปริมาณสูงกว่าบริเวณฟันหน้าเพื่อเลียนแบบลักษณะที่พบในธรรมชาติ แล้ววัดค่าแรงเค้นที่เกิดขึ้นบนผิวของรากเทียมตำแหน่งเหมือนกัน 15 จุดบนรากเทียมตำแหน่งที่ 1, 3 และ 5 ณ จุดวัดเดียวกันในทั้งสองแบบจำลอง กำหนดให้จุดวัดอยู่ที่ผิวประชิดของกระดูกและรากเทียม มีจำนวน 5 จุด โดยรอบรากเทียมแต่ละตำแหน่ง นำค่าแรงเค้นที่วัดได้มาเปรียบเทียบระหว่างสองแบบจำลองในแต่ละจุดวัดโดยเปรียบเทียบสมการแสดงความถดถอยพบว่าเส้นกราฟของสมการแสดงความถดถอยซึ่งได้จากความสัมพันธ์ของแรงเค้น ณ จุดวัดต่างๆ กับปริมาณแรงบดเคี้ยวจากแบบจำลองกลุ่มที่ 1 แตกต่างจากแบบจำลองกลุ่มที่สองอย่างชัดเจน ซึ่งพบว่าจุดวัดทุกจุดบนรากเทียมตำแหน่งที่ 1 และ 5 รวมทั้งหมด 10 จุด ในแบบจำลองที่สองมีแรงเค้นสูงกว่าในแบบจำลองที่หนึ่งประมาณ 3-47% และจุดวัดทุกจุดบนรากเทียมตำแหน่งที่ 3 จุด ในแบบจำลองกลุ่มที่หนึ่งมีแรงเค้นสูงกว่าในแบบจำลองที่สองประมาณ 19-58% ส่วนตอนที่สองกำหนดให้แรงบดเคี้ยวกระจายลงเพียงแค่บริเวณด้านหลังต่อรากเทียมตำแหน่งสุดท้ายด้านขวาของขากรรไกร แล้ววัดค่าแรงเค้นที่เกิดขึ้น ณ จุดวัดที่กำหนดให้ในทั้งสองแบบจำลอง นำค่าแรงเค้นที่วัดได้มาเปรียบเทียบในแต่ละจุดที่วัดโดยการเปรียบเทียบสมการแสดงความถดถอย พบว่าเส้นกราฟของสมการแสดงความถดถอยซึ่งได้จากความสัมพันธ์ของแรงเค้น ณ จุดวัดต่างๆกับปริมาณแรงบดเคี้ยวจากแบบจำลองกลุ่มที่หนึ่งแตกต่างจากแบบจำลองกลุ่มที่สองอย่างชัดเจน ซึ่งพบว่าจุดวัดทั้ง 5 จุด บนรากเทียมตำแหน่งที่ 1 และจุดวัดที่ 12 บนรากเทียมตำแหน่งที่ 5 จากทั้งหมด 15 จุดในแบบจำลองที่สองมีแรงเค้นสูงกว่าในแบบจำลองที่หนึ่งประมาณ 6-33% ส่วนจุดวัดที่เหลือในแบบจำลองกลุ่มที่หนึ่งมีแรงเค้นสูงกว่าในแบบจำลองที่สองประมาณ 9-64%
dc.format.extent 6731988 bytes
dc.format.extent 1443483 bytes
dc.format.extent 5661979 bytes
dc.format.extent 3194469 bytes
dc.format.extent 10683760 bytes
dc.format.extent 11882881 bytes
dc.format.extent 3098215 bytes
dc.format.extent 2845108 bytes
dc.format.extent 657790 bytes
dc.format.extent 82589139 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title การวิเคราะห์การกระจายของแรงเค้นด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ในฟันปลอมชนิดไฮบริดที่พื้นผิวประชิดของรากเทียมและกระดูกอันเป็นผลมาจากจำนวนรากเทียมและตำแหน่งของรากเทียม en
dc.title.alternative Finite element analysis of stress distribution in a hybrid denture at the implant-bone interfaces affected by number and position of implants en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline ทันตกรรมประดิษฐ์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record