Abstract:
ตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่าความทนแรงดึงของเคลือบฟันและเนื้อฟันภายหลังการฟอกสีฟันภายนอกด้วยวิธีทำในคลินิกร่วมกับให้ผู้ป่วยทำที่บ้าน หรือการฟอกสีฟันภายในตัวฟัน วิธีการ แบ่งฟันวัวซี่ตัดกลางออกเป็น 8 กลุ่มๆละ 10 ซี่ การฟอกสีฟันจากด้านนอกตัวฟันใช้สารฟอกสีฟันในความเข้มข้นต่างๆกันดังนี้ 1. 35 เปอร์เซ็นต์ ไฮโดรเจน เพอร์ออกไซด์ตามด้วย 10 เปอร์เซ็นต์คาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์(E35H-10C) 2. 35 เปอร์เซ็นต์ ไฮโดรเจนเพอร์ ออกไซด์ตามด้วย 20 เปอร์เซ็นต์คาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์(E35C-20C) 3. 35 เปอร์เซ็นต์คาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์ตามด้วย 10 เปอร์เซ็นต์คาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์(E35C-10C) 4. 35 เปอร์เซ็นต์คาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์ตามด้วย 20 เปอร์เซ็นต์คาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์(E35C-20C) โดยที่กลุ่มควบคุม (EC) ไม่ได้รับการฟอกสีฟัน ส่วนการฟอกสีฟันจากด้านในตัวฟันภายหลังการรักษารากฟันแล้ว 24 ชั่วโมงโดยใช้ส่วนผสมของโซเดียมเพอร์บอเรทกับ 35 เปอร์เซ็นต์ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์(ISP-35H) หรือโซเดียมเพอร์บอเรทกับน้ำกลั่น(ISP-W) ส่วนกลุ่มควบคุม(IC) ไม่ได้รับการฟอกสีฟัน วิธีการฟอกสีฟันปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต จากนั้นเตรียมชิ้นตัวอย่างเป็นรูปดัมเบลของเคลือบฟันที่มีพื้นที่หน้าตัดบริเวณส่วนแคบที่สุดมีขนาด 1.5x0.5 ตร.มม. และของเนื้อฟันมีขนาด 3x1 ตร.มม. แล้วนำมาหาค่าความทนแรงดึงด้วยเครื่อง Instron ตรวจสภาพพื้นผิวที่แตกหักด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราด ผลการทดลอง ค่าความทนแรงดึงเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(MPa)ของเคลือบฟันในแต่ละกลุ่มมีดังนี้ : EC = 30.51 ± 3.34 E35H-10C = 14.82 ± 2.33 E35H-20C = 10.64 ± 2.54 E35C-10C = 25.37 ± 3.40 E35C-20C = 20.30 ± 4.06 IC = 26.48 ± 4.08 ISP-35H = 13.60 ± 3.06 ISP-W = 21.10 ± 6 การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการเปรียบเทียบเชิงซ้อนด้วยวิธีของตูกีย์พบว่า ทุกกลุ่มที่ฟอกสีฟันภายนอกมีค่าความทนแรงดึงแตกต่างกันและต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) นอกจากนี้กลุ่มที่ฟอกสีฟันภายในตัวฟันก็มีค่าความทนแรงดึงแตกต่างกันและต่างจากกลุ่มควบคุมด้วยเช่นกัน (p < 0.05) ส่วนค่าความทนแรงดึงเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(MPa) ของเนื้อฟันในแต่ละกลุ่มมีดังนี้ : EC = 85.35 ± 3.03 E35H-10C = 58.87 ± 1.95 E35H-20C = 55.46 ± 2.20 E35C-10C = 70.79 ± 2.52 E35C-20C = 67.20 ± 3.26 IC = 85.88 ± 2.46 ISP-35H = 46.73 ± 2.77 ISP-W = 68.30 ± 4.42 การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการเปรียบเทียบเชิงซ้อนของตูกีย์พบว่า ทุกกลุ่มที่ฟอกสีฟันภายนอกมีค่าความทนแรงดึงแตกต่างกันและต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) นอกจากนี้กลุ่มที่ฟอกสีฟันภายในตัวฟันก็มีค่าความทนแรงดึงแตกต่างกันและต่างจากลุ่มควบคุมด้วยเช่นเดียวกัน (p < 0.05) ภาพถ่ายบริเวณพื้นผิวแตกหักพบว่าการใช้ไฮโดรเจน เพอร์ออกไซด์ที่มีความเข้มข้นมากขึ้นยิ่งทำให้เกิดรูพรุนทั้งในส่วนของเคลือบฟันและเนื้อฟันมากขึ้น สรุป การฟอกสีฟันทั้งภายนอกและภายในตัวฟันมีผลทำให้ค่าความทนแรงดึงของเคลือบฟันและเนื้อฟันลงลง