Abstract:
ความพิการเกิดจากความผิดปกติหรือความบกพร่องทางจิตใจ ทางร่างกายหรือทางสรีระ ในปี พ.ศ. 2534 ประเทศไทยได้ออกพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ซึ่งกำหนดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และบริการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารสถานที่สาธารณะที่คนพิการพึงได้รับความสะดวกในการใช้งาน เพื่อช่วนให้มีโอกาสออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติร่วมกับคนทั่วไป ผลจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ทำให้สถาปนิกและนักออกแบบจำเป็นต้องจัดสร้างอาคารให้มีความเหมาะสมสำหรับคนพิการที่มีความบกพร่องแตกต่างกัน แนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารด้วยการขจัดอุปสรรคต่อการเข้าถึง การเข้าสู่และการใช้งานของคนพิการ นับเป็นหลักการออกแบบพื้นฐานที่ยอมรับกันทั่วไป การศึกษาเพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมนอกจากทำตามหลักการดังกล่าวแล้ว ยังคำนึงถึงสภาพความเป็นจรงิของปัญหาในด้านคนพิการผู้ใช้งาน ตลอดจนความประหยัดและความเหมาะสมเป็นไปได้สำหรับผู้เป็นเจ้าของอาคาร เพื่อให้เกิดการยอมรับและนำไปประยุกต์ใช้งานได้นับเป็นเป้าหมายของการวิจัย เนื้อหาในการเสนอแนะแนวทางแบ่งเป็น 3 ส่วนเพื่อความสะดวกสำหรับการนำไปใช้อ้างอิงในการออกแบบ ส่วนแรกเริ่มจากแนวทางการออกแบบองค์ประกอบพื้นฐานในอาคาร เป็นการกำหนดด้านขนาด และลักษณะรายละเอียดขององค์ประกอบเบื้งอต้นให้คนพิการ สามารถใช้อาคารได้อย่างเหมาะสม องค์ประกอบเหล่านี้ได้แก่ ช่องทางสัญจร ทาเข้าและประตู บันได้ ทางลาด และป้าย เป็นต้น ส่วนที่สองเป็นการเสนอแนวทางการออกแบบพื้นที่ใช้งานพื้นฐานซึ่งเกี่ยวข้องทางด้านขนาด และลักษณะพื้นที่ รวมทั้งการจัดวางเครื่องเรือน ในอาคารสาธารณะทั่วไปประกอบด้วยพื้นที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ ห้องพัก พื้นที่ทำงาน และพื้นที่ทานอาหาร เป็นต้น ส่วนสุดท้ายเป็นการสรุปรวมรายการส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สถาปนิกและนักออกแบบใช้ตรวจสอบ เมื่อทำการออกแบบอาคารสาธารณะประเภทต่างๆ ผลการวิจัยเกิดจากการนำหลักเกณฑ์ด้านการยศาสตร์มาใช้กำหนดลักษณะสภาพแวดล้อมให้มีลักษณะเหมาะสมต่อการใช้งานบุคคลที่มีควมแตกต่างหลากหลายตั้งแต่คนที่มีร่างกายปกติ ไปจนถึงบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายในด้านต่าง ๆ การเสนอแนะแนวทางในงานวิจัยนี้ จะใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนสำหรับสถาปนิกและนักออกแบบเมื่อทำการสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารสาธารณะให้เอื้อประโยชน์ต่อผู้ใช้งานที่มีความพิการทางร่างกาย