DSpace Repository

แนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในอาคารเพื่อคนพิการ : รายงานผลการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author นวลน้อย บุญวงษ์
dc.contributor.author นันทนี เนียมทรัพย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
dc.date.accessioned 2006-09-09T07:23:47Z
dc.date.available 2006-09-09T07:23:47Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2403
dc.description.abstract ความพิการเกิดจากความผิดปกติหรือความบกพร่องทางจิตใจ ทางร่างกายหรือทางสรีระ ในปี พ.ศ. 2534 ประเทศไทยได้ออกพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ซึ่งกำหนดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และบริการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารสถานที่สาธารณะที่คนพิการพึงได้รับความสะดวกในการใช้งาน เพื่อช่วนให้มีโอกาสออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติร่วมกับคนทั่วไป ผลจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ทำให้สถาปนิกและนักออกแบบจำเป็นต้องจัดสร้างอาคารให้มีความเหมาะสมสำหรับคนพิการที่มีความบกพร่องแตกต่างกัน แนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารด้วยการขจัดอุปสรรคต่อการเข้าถึง การเข้าสู่และการใช้งานของคนพิการ นับเป็นหลักการออกแบบพื้นฐานที่ยอมรับกันทั่วไป การศึกษาเพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมนอกจากทำตามหลักการดังกล่าวแล้ว ยังคำนึงถึงสภาพความเป็นจรงิของปัญหาในด้านคนพิการผู้ใช้งาน ตลอดจนความประหยัดและความเหมาะสมเป็นไปได้สำหรับผู้เป็นเจ้าของอาคาร เพื่อให้เกิดการยอมรับและนำไปประยุกต์ใช้งานได้นับเป็นเป้าหมายของการวิจัย เนื้อหาในการเสนอแนะแนวทางแบ่งเป็น 3 ส่วนเพื่อความสะดวกสำหรับการนำไปใช้อ้างอิงในการออกแบบ ส่วนแรกเริ่มจากแนวทางการออกแบบองค์ประกอบพื้นฐานในอาคาร เป็นการกำหนดด้านขนาด และลักษณะรายละเอียดขององค์ประกอบเบื้งอต้นให้คนพิการ สามารถใช้อาคารได้อย่างเหมาะสม องค์ประกอบเหล่านี้ได้แก่ ช่องทางสัญจร ทาเข้าและประตู บันได้ ทางลาด และป้าย เป็นต้น ส่วนที่สองเป็นการเสนอแนวทางการออกแบบพื้นที่ใช้งานพื้นฐานซึ่งเกี่ยวข้องทางด้านขนาด และลักษณะพื้นที่ รวมทั้งการจัดวางเครื่องเรือน ในอาคารสาธารณะทั่วไปประกอบด้วยพื้นที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ ห้องพัก พื้นที่ทำงาน และพื้นที่ทานอาหาร เป็นต้น ส่วนสุดท้ายเป็นการสรุปรวมรายการส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สถาปนิกและนักออกแบบใช้ตรวจสอบ เมื่อทำการออกแบบอาคารสาธารณะประเภทต่างๆ ผลการวิจัยเกิดจากการนำหลักเกณฑ์ด้านการยศาสตร์มาใช้กำหนดลักษณะสภาพแวดล้อมให้มีลักษณะเหมาะสมต่อการใช้งานบุคคลที่มีควมแตกต่างหลากหลายตั้งแต่คนที่มีร่างกายปกติ ไปจนถึงบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายในด้านต่าง ๆ การเสนอแนะแนวทางในงานวิจัยนี้ จะใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนสำหรับสถาปนิกและนักออกแบบเมื่อทำการสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารสาธารณะให้เอื้อประโยชน์ต่อผู้ใช้งานที่มีความพิการทางร่างกาย
dc.description.abstractalternative Disbility can result from an impairment or abnormality of psychological physiological or anatomical structure of function. The Rehabilitation of Disabled Persons Act B.E. 2534 mandates that all facilities and services, especially public buildings shouls be accessible to all. This will help the disabled persons to be able to lead a normal life and have their normal activities with others. According to the Act, architects and designers have to facilitate their buildings for the users with different kinds of impairment. Barrier-free design is an acceptable design principle. It means giving users the possibility to reach, enter, and use public buildings. The proposed environmental design guidelines, not only follow the basic principle, but also take into consideration the constraint both from the users and the owners of the buildings. Since the objective of this research is to provide design guidelines that is appropriate and practical to be applied. So the contents of the guidelines are divided into 3 main sections. The first section is about the determination of dimensions and characteristics of basic building elements such as: corridor, entrance and door, stair, ramp, sign etc. The second section of the guidelined is about the determination of dimensions, area characteristics and furniture lay out in basic building spaces such as: WC, bathroom, sleeping accommodation, working area, dinning area etc. The last section concludes with the list of elements and spaces that architects and designers should consider when design different types of public buildings. The result of this research are derived from the application of Human Factors principles to define the environment that is appropriate to the use of people with wide ranged of body characteristics from normal to disabled persons. The guidelines will be served as the reference to support architects and designers when they design public interior environment that is accessible to all disabled people. en
dc.description.sponsorship กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช en
dc.format.extent 37112435 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การออกแบบสถาปัตยกรรม en
dc.subject อาคารสาธารณะ en
dc.subject คนพิการ en
dc.title แนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในอาคารเพื่อคนพิการ : รายงานผลการวิจัย en
dc.title.alternative Interior environmental design guidelines for disabled people en
dc.type Technical Report en
dc.email.author Nuannoy.B@Chula.ac.th
dc.email.author Natthanee.N@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record