Abstract:
จุดประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาส่วนประกอบในน้ำนมทั้งองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรองเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำนมดิบของโคนมที่เลี้ยงในประเทศไทยโดยศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับตัวอย่างของน้ำนมในโคนมลูกผสมจากฟาร์มโคนมของกลุ่มสหกรณ์โคนมที่เลี้ยงในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยกับการเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบของน้ำนมในระยะต่าง ๆ ของการให้นมโดยการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำนมจากฟาร์มโคนมของเกษตรกรในกลุ่มสหกรณ์โคนม 3 แห่ง คือ สหกรณ์โคนมหนองโพ จ.ราชบุรี สหกรณ์โคนม อสค. มวกเหล็ก จ.สระบุรี สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จ.สระแก้ว คัดแยกโคนมลูกผสม Holstein ที่มีสายเลือด 87.5% โดยจัดกลุ่มโคนมที่กำลังให้นมในระยะต่าง ๆ ของการให้นมภายหลังคลอด 8-12 สัปดาห์ (ระยะต้นของการให้นม) โคนมที่กำลังให้นมภายหลังคลอด 18-22 สัปดาห์ (ระยะกลางของการให้นม) และโคนมที่กำลังให้นมภายหลังคลอด 28-32 สัปดาห์ (ระยะท้ายของการให้นม) ผลการศึกษาอัตราการหลั่งน้ำนมในระยะต้นของการให้นมภายหลังคลอด 8-12สัปดาห์ มีค่ำเฉลี่ยของการให้นมที่มีค่ำใกล้เคียงกัน อัตราการหลั่งน้ำนมในระยะต้นของการให้นมอยู่ระหว่าง 13.6-14.2 กก./ตัว/วัน เมื่อรวมข้อมูลเป็นค่ำเฉลี่ยของอัตราการหลั่งน้ำนมรวมในระยะต้นของการให้นมจากฟาร์มโคนมทั้ง 3 แห่ง มีค่ำ 13.98 กก./ตัว/วัน อัตราการหลั่งน้ำนมจะลดลงเมื่อโคนมให้นมเข้าสู่ระยะท้าย ๆ ของกำไรให้นม ทำให้ค่ำเฉลี่ยอัตราการให้นมรวมตลอดระยะการให้นมมีค่ำ 11.95 กก./ตัว/วัน อัตราการหลั่งน้ำนมตลอดระยะการให้นมในโคนมจำกกลุ่มสหกรณ์โคนม อ.ส.ค. จะมีค่ำเฉลี่ยต่ำสุดเมื่อเทียบกับโคนมในกลุ่ม สหกรณ์โคนมอีก 2 แห่ง การศึกษาองค์ประกอบในน้ำนมในส่วนประกอบหลัก พบว่าความเข้มข้นของไขมันนม ในระยะต้นของการให้นมจะมีค่ำแตกต่างกันระหว่างโคนมที่เลี้ยงในกลุ่มสหกรณ์โคนมทั้ง 3แห่ง ความเข้มข้นของไขมันนมในกลุ่มโคนมสหกรณ์โคนมหนองโพจะมีค่ำเฉลี่ยต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งอื่น ๆ ส่วนประกอบหลักอื่น ๆ ได้แก่ ความเข้มข้นของโปรตีนและแลคโตสในน้ำนม ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างโคนมของกลุ่มสหกรณ์โคนมทั้ง 3 แห่ง ในระยะต้นของการให้นมความเข้มข้นของไขมันนมที่มีค่ำต่ำของตัวอย่างนมจำกกลุ่มสหกรณ์โคนมหนองโพจะสอดคล้องกับระดับความเข้มข้นของซิเตรทและแคลเซียมไอออนในน้ำนมซึ่งจะมีค่ำต่ำเช่นกันเมื่อเทียบกับตัวอย่างน้ำนมอีก 2 แห่ง ระดับความเข้มข้นของยูเรียในน้ำนมในระยะต้นของการให้นมจากตัวอย่างโคนมของสหกรณ์โคนมทั้ง 3 แห่งมีค่ำความเข้มข้นของยูเรียในน้ำนมสูงในช่วง 8-12 สัปดาห์ภายหลังคลอด และจะค่อยลดลงเมื่อโคนมเข้าสู่ระยะกลางและระยะท้ายของการให้นม ผลของการศึกษาความเข้มข้นของโปรตีนในน้ำนมดิบของโคนมจำกกลุ่มสหกรณ์โคนมทั้ง 3 แห่งพบว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเข้าสู่ระยะท้ายของการให้นม ในทางตรงข้ามอัตราการหลั่งน้ำนมในระยะท้ายจะลดลง ปริมาณการขับโปรตีนทั้งหมดลดลงในช่วงระยะท้ายของการให้นม ความเข้มข้นของระดับซิเตรทในน้ำนมจะลดลงเมื่อระยะการหลั่งน้ำนมเข้าสู่ระยะท้าย ๆ โดยในระยะต้นของการหลั่งน้ำนมความเข้มข้นของซิเตรทในน้ำนมจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับความเข้มข้นของแคลเซียมไอออนในระยะต้นที่พบว่ามีปริมาณสูงในกลุ่มโคนมจากสหกรณ์โคนมทั้ง 3 แห่ง จากการศึกษาในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าการเลี้ยงโคนมในภูมิภาคต่าง ๆ จะมีความแตกต่างทั้งปริมาณและส่วนประกอบของน้ำนมดิบทั้งองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรองโดยเฉพาะน้ำนมดิบที่ได้จากโคนมในกลุ่มสหกรณ์โคนม อ.ส.ค. ที่มีองค์ประกอบรองได้แก่ ความเข้มข้นของยูเรีย ซิเตรท และแคลเซียมไอออน จะมีความแตกต่างอย่างชัดเจน เมื่อระยะการให้นมเข้าสู่ระยะกลางและท้ายของการให้นม ผลของการเปลี่ยนแปลงอาหารที่แตกต่างกันและระยะการให้นมที่แตกต่างกันจะมีผลต่อองค์ประกอบรอง ซึ่งจะมีผลต่อกระบวนการทำ ผลิตภัณฑ์นม น้ำนมดิบที่มีส่วนประกอบที่เหมาะสม จึงเป็นเรื่องที่น่าจะมีการศึกษาคุณภาพน้ำนมและปริมาณน้ำนมในช่วงระยะเวลาการให้นมที่ต่างกัน ตลอดจนด้านโภชนาการของโคนมให้ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น