DSpace Repository

ความรับผิดทางอาญา : ศึกษากรณีเกณฑ์อายุขั้นต่ำและขั้นสูงของเด็กและเยาวชน

Show simple item record

dc.contributor.advisor อมราวดี อังค์สุวรรณ
dc.contributor.advisor อัมพล สูอัมพันธ์
dc.contributor.author ปัทมปาณี พลวัน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-11-19T05:51:11Z
dc.date.available 2012-11-19T05:51:11Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.isbn 9741728581
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24518
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาวิเคราะห์ว่า เกณฑ์อายุขั้นต่ำและขั้นสูงที่ต้องรับผิดทางอาญาในปัจจุบันมีความเหมาะสมหรือไม่ สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่อย่างไร ทั้งนี้กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนผู้กระทำผิดมีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขฟื้นฟูให้เด็กและเยาวชนผู้กระทำผิดให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อกลับเข้าสู่สังคมมากกว่าจะลงโทษให้สาสมกับความผิดที่ได้กระทำขึ้น แต่การกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำที่ต้องรับผิดทางอาญาเป็นจุดเริ่มต้นของการพิจารณาว่าเด็กผู้นั้นต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ ซึ่งหากเด็กนั้นอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดว่าต้องรับผิด ก็ไม่ต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้าการกำหนดอายุที่ไม่เหมาะสมกับสภาพจิตใจ อารมณ์ และวุฒิภาวะของเด็ก ก็จะเป็นการผลักดันเด็กเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและไม่เป็นธรรมแก่เด็ก รวมทั้งไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกที่ส่งเสริมให้ภาคีสมาชิกกำหนดอายุขั้นต่ำ ทั้งนี้คณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติได้มีการตั้งข้อกังวลเกี่ยวกับเกณฑ์อายุในการรับผิดทางอาญาของเด็กในประเทศไทยว่าจะต่ำเกินไปหรือไม่ จากการที่ผู้วิจัยได้ศึกษาเหตุผลทางการแพทย์ จิตวิทยา และพัฒนาการตามวัยของเด็ก พบว่า จากเหตุผลทางด้านกาย จิตใจ การเลี้ยงดู และสิ่งแวดล้อม ตามที่กล่าวมาในข้างต้น เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่อาจทำให้เด็กกระทำผิดได้ เพราะเด็กอายุ 7 ปี ยังไม่มีความคิดที่เป็นของตนเอง การอบรมสั่งสอนจากครอบครัวนั้นเด็กจะทราบว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด แต่ไม่เข้าใจเหตุผลที่แท้จริงว่า สิ่งนั้นถูกหรือผิดเพราะเหตุใด ซึ่งเจตนารมณ์การลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาก็เพื่อต้องการจะลงโทษบุคคลที่กระทำผิดโดยเจตนา ดังนั้นหากเด็กไม่รู้หรือเข้าใจในการกระทำของตนจะถือว่าเด็กเจตนากระทำความผิดมิได้ ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงเสนอแนะให้มีการปรับเกณฑ์อายุขั้นต่ำที่ต้องรับผิดทางอาญาเป็น 10 ปี เพื่อความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กและสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน และขณะเดียวกันก็เห็นควรแก้ไขอายุขั้นสูงในการรับผิดทางอาญาจาก 17 ปี เป็น 18 ปี เพราะอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กข้อ 37 (ก) กำหนดว่าจะไม่มีเด็กคนใดได้รับการทรมานหรือถูกปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือต่ำช้า จะไม่มีการลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต โดยที่ไม่มีโอกาสจะได้รับการปล่อยตัวสำหรับความผิดที่กระทำโดยบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งในปัจจุบันหากเยาวชนกระทำความผิดร้ายแรงก็อาจถูกลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตได้ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ถูกลงโทษในกรณีดังกล่าว จึงควรแก้ไขเกณฑ์อายุขั้นสูงให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และเพื่อมิให้เด็กและเยาวชนถูกละเมิดสิทธิด้วยผลของการกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำและขั้นสูงที่ไม่เหมาะสมอีกต่อไป
dc.format.extent 2807321 bytes
dc.format.extent 3346009 bytes
dc.format.extent 12405635 bytes
dc.format.extent 18074257 bytes
dc.format.extent 10417404 bytes
dc.format.extent 3721955 bytes
dc.format.extent 18868360 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title ความรับผิดทางอาญา : ศึกษากรณีเกณฑ์อายุขั้นต่ำและขั้นสูงของเด็กและเยาวชน en
dc.title.alternative The criminal liability of Juvinile : study of minimum age and maximum age en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record