Abstract:
การศึกษานี้มี'วัตถุประสงค์2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจสอบ ด้านความเป็นอิสระและด้านความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษทางการบัญชี หรือการเงิน กับการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายใน และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของ คณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับระดับการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายใน ผู้เขียนได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานทางการเงินและส่งแบบสอบถามไปยังคณะกรรมการตรวจสอบของ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วิธีการทดสอบและวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ พื้นฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ และการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติค ประเด็นด้านการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายในของคณะกรรมการตรวจสอบที่นำ มาศึกษา มีทั้งสิ้น 5 ประเด็น คือ 1) จำนวนครั้งการประชุมกับหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน 2) ระยะเวลาที่ใช้ในการประชุมกับหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน 3) การจัดประชุมเป็นการส่วนตัวกับ หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน 4) การสอบทานแผนงานและผลการตรวจสอบภายใน และ 5) การ สอบทานการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายในของฝ่ายบริหาร ผลการศึกษาพบว่าคณะกรรมการตรวจสอบที่ประกอบไปด้วยสมาชิกที่เป็นกรรมการอิสระ ทั้งหมด และมีสมาชิกอย่างน้อย 1 คนมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษทางการบัญชีหรือการเงิน มีแนวโน้มที่จะ 1) สอบทานแผนงานและผลการตรวจสอบภายใน และ 2) สอบทานการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายในของฝ่ายบริหาร มากกว่าคณะกรรมการตรวจสอบที่มีคุณสมบัติไม่ครบทั้ง 2 ข้อดังกล่าว ผลการศึกษาที่ได้อาจเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานกำกับดูแลกิจการในการ พิจารณาข้อกำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบมีคุณสมบัติด้านความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษทางการบัญชีหรือการเงินเพิ่มเติมจากคุณสมบัติด้านความเป็นอิสระ