Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนรวมและต้นทุนต่อหน่วยของการให้บริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน แต่ละหอผู้ป่วย, ต้นทุนผู้ป่วยที่ขอรับการสงเคราะห์, ต้นทุนค่ารักษาพยาบาลเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล, ต้นทุนแต่ละกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม, ต้นทุนการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และต้นทุนการตรวจทางรังสีวิทยา โดยศึกษาในมุมมองของผู้ให้บริการ โดยรวบรวมข้อมูล 6 เดือน (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2543 ถึง 31 มีนาคม 2544) ทั้งนี้ได้แบ่งหน่วยงานออกเป็น 3 ประเภท คือ หน่วยงานที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 30 หน่วยงาน, หน่วยงานที่ก่อให้เกิดรายได้ 26 หน่วยงาน และหน่วยงานให้บริการผู้ป่วยโดยตรง 89 หน่วยงาน ต้นทุนทางตรงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ และต้นทุนค่าลงทุน ต้นทุนรวมแบ่งเป็น 2 มุมมอง คือ ต้นทุนทางตรงกับต้นทุนทางอ้อม และต้นทุนค่าบริการพื้นฐานกับต้นทุนค่าบริการทางการแพทย์ การกระจายต้นทุนจากหน่วยงานที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และหน่วยงานที่ก่อให้เกิดรายได้ไปยังหน่วยงานให้บริการผู้ป่วยโดยใช้วิธีสมการพีชคณิตเส้นตรง (Simultaneous Equation Method) ศึกษาต้นทุนเบื้องต้นของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมโรคใช้ข้อมูลพื้นฐานจากต้นทุนต่อหน่วยของหอผู้ป่วยและห้องผ่าตัด 425 กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม จากจำนวนผู้ป่วย 19,228 คน ศึกษาต้นทุนการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 450 รายการ และการตรวจทางรังสีวิทยา 163 รายการ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยใน (IPD) มีวันนอนรวม 183,814 วัน ต้นทุนรวม 1,089,842,638 บาทต่อ 6 เดือน และต้นทุนต่อหน่วย 5,929.05 บาทต่อวันนอน โครงสร้างต้นทุน ค่าแรง : ค่าวัสดุ = 20 : 67 : 13 ต้นทุนทางตรง : ต้นทุนทางอ้อม = 60 : 40 ต้นทุนค่าบริการพื้นฐาน : ต้นทุนค่าบริการทางการแพทย์ = 62.63 : 37.37 ผู้ป่วยนอก (OPD) มารับบริการ 462,422 ครั้ง ต้นทุนรวม 832,297,031 บาท และต้นทุนต่อหน่วย 1,799.86 บาทต่อครั้ง โครงสร้างต้นทุน ค่าแรง : ค่าวัสดุ : ค่าลงทุน = 4 : 91 : 6 ต้นทุนทางตรง : ต้นทุนทางอ้อม = 78 : 22 ต้นทุนค่าบริการพื้นฐาน : ต้นทุนค่าบริการทางการแพทย์ = 32.75 : 67.25 ผู้ป่วยวิกฤต (ICU) มีวันนอนรวม12,467 วัน ต้นทุนรวม 209,539,109 บาท และต้นทุนต่อหน่วย 18,374.68 บาทต่อวันนอน โครงสร้างต้นทุน ค่าแรง : ค่าวัสดุ : ค่าลงทุน = 22 : 61 : 17 ต้นทุนทางตรง : ต้นทุนทางอ้อม = 70 : 30 ต้นทุนค่าบริาการพื้นฐาน : ต้นทุนค่าบริการทางการแพทย์ = 58.91 : 41.09 ห้องผ่าตัดมีจำนวน 9 แห่ง 50 เตียง มีต้นทุนรวม 149,497,765 บาท ต้นทุนต่อหน่วย 2,428.57 บาทต่อชั่วโมงต่อเตียง ผู้ป่วยนอกที่ขอรับการสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลในระยะเวลา 6 เดือน มีจำนวน 46,001 ครั้ง ต้นทุนรวม 31,868,380 บาท ต้นทุนต่อหน่วย 692.78 บาทต่อครั้ง ผู้ป่วยในสามัญมีจำนวนครั้งการบรรจุผู้ป่วย 8,373 ครั้ง จำนวนวันนอน 70,208 วัน ต้นทุนรวม 340,693,225 บาท ต้นทุนเฉลี่ย 4,852.63 บาทต่อวันนอน และ 40,689.50 บาทต่อ 1 ครั้งของการบรรจุผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ทุกระดับของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีจำนวน 5,284 คน ต้นทุนรวมค่ารักษาพยาบาลเจ้าหน้าที่ 30,994,363 บาทต่อ 6 เดือน ต้นทุนต่อหน่วย 5,865.70 บาทต่อคน สัดส่วนต้นทุนค่ารักษาพยาบาลเจ้าหน้าที่ : ครอบครัวเจ้าหน้าที่ = 29 : 71 การศึกษาครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงต้นทุนการให้บริการผู้ป่วยของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นแนวทางในการวางแผน ดำเนินนโยบายการรับผู้ป่วยในระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ ผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้บริหารระดับต้นของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หน่วยงานที่ก่อให้เกิดรายได้ หรือหน่วยงานให้บริการผู้ป่วยควรได้พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ทั้งระบบการบริหารบุคลาการ การเบิกจ่ายวัสดุ และการใช้ครุภัณฑ์ รวมถึงพื้นที่ของโรงพยาบาลให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพื่อลดต้นทุนการให้บริการ แต่ทั้งนี้ควรคำนึงถึงความเหมาะสมและธำรงไว้ซึ่งคุณภาพผลผลิตของแต่ละหน่วยงานด้วย นอกจากนี้แล้วอาจพิจารณาปรับอัตราค่าบริการผู้ป่วย