DSpace Repository

การประยุกต์หลักพุทธธรรมมาใช้ในการพัฒนาชาวชนบท : รายงานผลการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author สุภาพรรณ ณ บางช้าง
dc.contributor.author ไหม รัตนวรารักษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาภาษาตะวันออก
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา
dc.date.accessioned 2006-09-18T01:31:10Z
dc.date.available 2006-09-18T01:31:10Z
dc.date.issued 2525
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2551
dc.description.abstract มุ่งศึกษาสถานภาพด้านศาสนาและศีลธรรมใน 4 หมู่บ้านของจังหวัดระยอง นำปัญหาที่ประมวลได้มาพิจารณาแล้วทดลองประยุกต์หลักพุทธธรรมแก่ชุมชนโดยเน้นที่กลุ่มหนุ่มสาวชาวพุทธเป็นสำคัญ ประเมินผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการทดลองนี้ สถานที่ศึกษาได้แก่ ตำบลวังหว้าและทางเกวียน กลุ่มศึกษาคือประชาชนของหมู่บ้านเนินหย่องและวังหว้า ซึ่งเป็นกลุ่มทดลองของหมู่บ้านหนองกันเกราและวังหิน ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม ข้อมูลได้มาด้วยวิธีการสังเกต สัมภาษณ์ แบบสอบถาม และเอกสารราชการ จากแบบสอบถามหลังการทดลองชุดที่ 1 ผู้ตอบเป็นร้อยละ 9.4-18.7 ของประชากรทั้งหมดในหมู่บ้านทดลองทั้ง 2 ได้พบว่ ในเรื่องศีล ชาวบ้านลดการดื่มสุราลงและเพิ่มความมั่นใจที่จะจัดงานประเพณีในพุทธศาสนาโดยไม่มีสุรา การจัดกิจกรรมที่วัด งดอบายมุขทุกประเภทได้ทั้งหมด ทุกหมู่บ้านเข้าใจเป้าหมายการฝึกสมาธิถูกต้อง ในด้านปัญญาทีความเข้าใจในหลักธรรมมากขึ้น ยกเว้นหนองกันเกราที่ลดลงเมื่อประสบปัญหา ชาวบ้าน 3 หมู่บ้านใช้ธรรมะช่วยเพิ่มขึ้น ส่วนวังหินคงเดิม จุดมุ่งหมายของการทำบุญเพื่อบำรุงศาสนาเกือบคงเดิมในวังหินและเนินหย่อง ส่วนวังหวัาและหนองกันเกราเพิ่มขึ้น แต่คำตอบน้อยกว่าเนินหย่องก่อนการทดลอง กลุ่มทดลองคือเนินหย่องและวังหว้า ตอบว่าการรักษาศีลในชีวิตประจำวันเป็นการกระทำให้ผลบุญมากที่สุด เพิ่มขึ้นขณะที่กลุ่มควบคุมหนองกันเกราและวังหินลดลง ปัญหาศาสนาก่อนการทดลองคือการที่คนไม่สนใจศึกษาปฏิบัติธรรม ทุกหมู่บ้านหลังการทดลอง ปัญหานี้ลดลงในกลุ่มทดลอง แต่กลับมีปัญหาขาดผู้สอนธรรมมากขึ้น ผลกระทบของงานวิจัยที่มีต่อกลุ่มทดลองรวบรวมจากแบบสอบถามชุดที่ 2 ซึ่งมีผู้ตอบร้อยละ 17.9 และ 6.8 ของประชากกรทั้งหมดของเนินหย่องและวังหว้า ตามลำดับ พบว่ามีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น คือ ชาวบ้านรู้หลักธรรมเพิ่มขึ้น ปฏิบัติธรรมมากขึ้น การเสพอบายมุขในหมู่บ้านลดลง มีการประหยัดเงินในการจัดงานประเพณีมากขึ้น ชาวบ้านยอมรับกิจกรรมปรับปรุงศาสนาศีลธรรมในท้องถิ่นอย่างที่ทำในงานวิจัยเป็นสิ่งจำเป็นร้อยละ 90 มองเห็นประโยชน์หลายประการของการตั้งกลุ่มหนุ่มสาวชาวพุทธ ในทางตรงข้ามมีผู้เห็นถึงผลเสียของงานวิจัยร้อยละ 12.8 และ 15.8 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ชาวบ้านบางคนไม่เห็นด้วยกับการงดอบายมุขในการจัดงานประเพณีที่วัดอย่างเด็ดขาด en
dc.description.abstractalternative This research aims at studying religious and moral situation in four villages in Rayong, analysing the problems, experimenting on the application of Buddha's Dhamma to the development of rural people especially the Young Buddhist Groups, and evaluating the effects and changes that result from the experiments. The result of Questionnaire No. 1 answered by 9.4-18.7% of the population of the two experiment villages shows that the villagers have decreased their drinking and become more confident in arranging religious festivals and ceremonies without drinking. All intoxicants arebanned from all temple activities. People in every village have gained adequate understanding of the aims of practicising meditation. As for spiritual knowledge, the villagers have acquired more understanding of Dhamma except at Nong Krankrau. People in 3 villages apply Dhamma to their solutions of problems more, whereas people at Wang Hin remain the same in this matter. The number of answer after the experiment from Wang Hin and Nuen Yong that the purpose of making merits is to contribute to Buddhism is the same as before the experiment, while the number increases in Wang Wa and Nong Krankrau but is still less than the number from Neun Young. The number of answers from Neun Yong and Wang Wa which say that the sila practise in daily life is the way of making merits that gives best results, most increases, whereas the number of answers of the same question from the control groups in Nong Krankrau and Wang Hin decreases. The problem concerning religion before the experiment was that there were people who lacked interest in Dhamma practicing in every village. After the experiment, this problem has decreased in the experimental group but the problem of lacjing Dhamma teachers has increased. The result of Questionnaire No. 2 concerning the effects of the research on experimental groups, answered by 17.9 and 6.8% of the population of Neun Yong and Wang Wa respectively, shows msny changes. The villagers know more about Dhamma, practise Dhamma more and intoxication during religious festivals decreases. The villagers economize when they arrange religious festivals, ninty percent of them accept the importance of activities in improving religious and moral situation in the communities according to the proposals in the research projects. They see the benefits of the organization of the Young Buddhist groups. On the other hand, 128% and 15.8%, most of whom are those who disagree to the prohibition of intoxication in religious festivals, thought that the research brought about bad effects on their communities. en
dc.description.sponsorship กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช en
dc.format.extent 97256708 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject พุทธศาสนากับสังคม en
dc.subject การพัฒนาชนบท--ไทย en
dc.title การประยุกต์หลักพุทธธรรมมาใช้ในการพัฒนาชาวชนบท : รายงานผลการวิจัย en
dc.title.alternative The application of Buddha's Dhamma to the development of rural people en
dc.type Technical Report en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record