dc.contributor.author | กำธร พฤกษานานนท์ | |
dc.contributor.author | วิรุฬห์ พรพัฒนกุล | |
dc.contributor.author | เกริกยศ ชลายนเดชะ | |
dc.contributor.author | ลักษนันท์ รัตนคูหา | |
dc.contributor.author | กมลทิพย์ ดุลยเกษม | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา | |
dc.contributor.other | ไม่มีข้อมูล | |
dc.contributor.other | ไม่มีข้อมูล | |
dc.contributor.other | ไม่มีข้อมูล | |
dc.contributor.other | ไม่มีข้อมูล | |
dc.date.accessioned | 2006-09-18T01:43:18Z | |
dc.date.available | 2006-09-18T01:43:18Z | |
dc.date.issued | 2546 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2552 | |
dc.description.abstract | สถานการณ์การลาออกของแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นหัวข้อที่อยู่ในความสนใจของประชาชน และของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อที่จะวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของแพทย์ในภาครัฐและสร้างโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง ที่สามารถอธิบายปัจจัยอิทธิพลต่อการลาออก โดยใช้โปรแกรม LISRAL สมมติฐานการวิจัย ได้แก่ ประการแรก สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น เพศ อายุ ภูมิลำเนา รายได้ และครอบครัวส่งผลต่อการลาออก ประการที่สอง ลักษณะงาน เช่น ภาระงานหนัก ความจำเจ ส่งผลต่อการลาออก ประการที่สาม การขาดกระตุ้นขวัญและกำลังใจในส่วนที่เกี่ยวกับงาน เช่น ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม การขาดโอกาสก้าวหน้า และการลาศึกษาต่อมีความสัมพันธ์กับการลาออก ประการที่สี่ นโยบายและระบบบริหารเกี่ยวข้องกับการทำให้แพทย์ลาออก ประการที่ห้า ความพึงพอใจในงาน ส่งผลลบกับการลาออก และประการสุสดท้าย ความผูกพันกับองค์กร เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลาออก สถิติที่ใช้วิเคราะห์และทดสอบสมมติฐาน ได่แก่ ไค-สแควร์ t-test multiple regression การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สันและ LISRAL กลุ่มตัวอย่างได้แก่แพทย์ที่ลาออกจากราชการในช่วง 1 มาราคม 2544 ถึง 15 มีนาคม 2546 จำนวน 1105 คน แบบสอบถามจำนวน 958 ชุด ถูกส่งไปยังแพทย์ที่ลาออกทุกคน ตามที่สามารถหาที่อยู่ได้จากแพทยสภา แบบสอบถามจำนวนได้รัรบการตอบกลับมา 312 ชุด คิดเป็นร้อยละ 32.57 ซึ่ง 278 ชุด (ร้อยละ 29.02) มีข้อมูลเพียงพอ ที่จะนำมาวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยด้านนโยบาย ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการลาออกอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงาน การขาดขวัญและกำลังใจ ความพึงพอใจในงาน ตลอดจนความผูกพันกับองค์กร ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออก การวิเคราะห์ปัจจัยอิทธิพลของแพทย์ผู้ลาออก โดยโมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISRAL พบว่า โมเดลแสดงให้เห็นถึงปัจจัยอิทธิพลต่าง ๆส่วนมากส่งผลในเชิงบวกต่อการลาออกของแพทย์ ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 2.218 (p=0.330, df=2, GFI=0.998) แสดงว่ามีความสอดคล้องของโมเดลและข้อมูลเชิงประจักษ์ ปัจจัยความผูกพันกับองค์กรส่งผลสูงสุดต่อการลาออก (0.698) ปัจจัยเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลในทางลบต่อความผูกพันกับองค์กร (-0.049) ขณะที่ปัจจัยด้านขวัญและกำลังใจ (0.515) และ ด้านความพึงพอใจในงาน (0.112) ส่งผลในทางบวก ปัจจัยเศรษฐกิจและสังคม (0.275) และขวัญกำลังใจ (0.185) มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงาน แต่ลักษณะงาน (-0.28) และนโยบาย (-0.039) ส่งผลลบต่อความพึงพอใจ ผลของการศึกษานี้สรุปได้ว่า ปัจจัยเรื่องความพึงพอใจในงาน และความผูกพันกับองค์กรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อการลาออกของแพทย์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากคำถามปลายเปิดและการสัมภาษณ์แพทย์ที่ลาออกจากภาครัฐ | en |
dc.description.abstractalternative | The recently increasing turnover rate of Thai physicians from public hospitals is a phenomenon of immense interest to public and policy makers. One of the major objectives of this study is to determine factors affecting the physicians turnover from public hospitals in Thailand leading to developing this research structural equation model. The hypotheses of the study are as follows: First, the socioeconomic factors such as age, sex, hometown, income, and family, have positive influence on the physicians turnover. Second, the job characteristic, for instance, work load and routine task, have positive influence on the resignation. Third, the lack of work-related motivation-pay and promotion inequity, continuing education opportunity may have causal link leading to the turnover. Fourth, the government initiated policy and public health administration system exhibits significant impact for the physicians to quit their jobs. Fifth, the overall job satisfaction has negative effect on the resignation. Lastly, the organization commitment yield negative influence on the turnover. The statistical techniques employed for the hypotheses testing were chi-square, t-test, multiple regression nanlysis, Pearson's Product Moment correlation analysis, and LISREL. The respondents of this study were a number of 1105 physicians who resigned from public hospitals during January 1,2001 - May 15, 2003. A total number of 958 questionnaires was sent out all resigned physicians whose addresses could be identified by the Medical Council of Thailand. The number of 312 out of 958 questionnaires was returned with the response rate at 32.57%. However, 278 questionnaires (29.02%) had adequate information for further data analysis. Data analysis revealed that, the socioeconomic factors and the government policy were not considered as potential significance on the turnover. However, problem related to job characteristics, the lack of work-related motivation, job satisfaction, and their organization commitment factors did produce causal effects laeding to the resignation. The structure equation model for physicians turnover has been constructed and tested using LISRAL. The model showed that most of the factors have positive effects to the physician reassignment. The chi-square of 2.218 (p=0.330, df=2, GFI=0.998) confirmed the model-data fit. The causal effect of organization commitment was the strongest to turnover (0.698). Socioeconomic factors (-0.049) had negative effect to organization commitment while motivation (0.515) and job satisfaction (0.112) had positive effects. Socioeconomic factors (0.275) and motivation (0.185) exhibited positively to job satisfaction, but job characteristic (-0280) and policy (-0.039) negatively influence job satisfaction.The results of this study led to the conclusion that job satisfaction and organization commitment were the strongest determining factors of the physicians turnover. In addition, the result of open-end questionnaire and preliminary interviews of resigned physicians stronglyconfirmed in accordance tothe research findings. | en |
dc.format.extent | 39014426 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | แพทย์--การลาออก | en |
dc.subject | การเข้าและการออกจากงาน | en |
dc.title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของแพทย์ในภาครัฐ | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | Kamthorn.P@Chula.ac.th |