dc.contributor.advisor |
สมชาย จันทร์ผ่องแสง |
|
dc.contributor.author |
วรางคณา กิจพิพิธ, 2519- |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2006-09-18T06:14:42Z |
|
dc.date.available |
2006-09-18T06:14:42Z |
|
dc.date.issued |
2545 |
|
dc.identifier.isbn |
9741715706 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2564 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
en |
dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรม และประเมินค่าทางพันธุกรรมของลักษณะความคงทน ในการให้นมของโคนมลูกผสมโดยใช้โมเดลถดถอยเชิงสุ่ม (RRM) และโมเดลแบบหุ่นตัวสัตว์ (AM) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมระหว่างปี พ.ศ. 2527-2543 จำนวนข้อมูลบันทึกผลผลิตในวันทดสอบเข้าทำการวิเคราะห์ทั้งสิ้น 10,415 ระเบียน จากแม่โคจำนวน 645 ตัว ที่มีลำดับการให้ผลผลิตครั้งที่ 1 ถึง 3 โดยลักษณะความคงทนในการให้นมที่ทำการศึกษาทั้งสามวิธี ได้แก่ วิธีใช้ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของสมการสร้างกราฟแสดงการให้นม (beta) วิธีใช้อัตราส่วนของปริมาณน้ำนมรวมช่วงวันให้นมที่ 201-305 ต่อปริมาณน้ำนมรวมช่วงวันให้นมที่ 1-100 (P3:1) และวิธีใช้อัตราส่วนของปริมาณน้ำนมรวมช่วงวันให้นมที่ 201-305 ต่อปริมาณน้ำนมรวมที่ 305 วัน (P3:T) จากผลการศึกษาทั้งสามวิธี พบว่า ปัจจัยเนื่องจากปีและฤดูกาลที่แม่โคคลอดลูก ระดับเลือดโคยุโรป ลำดับการให้ผลผลิต อายุเมื่อคลอดลูก จำนวนวันให้นม และจำนวนวันให้นมจนถึงวันทดสอบครั้งแรก มีอิทธิพลต่อลักษณะความคงทนในการให้นมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับการประมาณค่าองค์ประกอบความแปรปรวนใช้วิธี resticted maximum likelihood (REML) พบว่า ค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะความคงทนในการให้นม ได้แก่ beta, P3:1 และ P3:T ที่ได้จากการวิเคราะห์โดยใช้ AM มีค่าเท่ากับ 0.14, 0.10 และ 0.07 ตามลำดับ และค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะความคงทนในการให้นมที่ได้จากการวิเคราะห์โดยใช้ RRM ได้แก่ P1, P2 และ P3 มีค่าเท่ากับ 0.14, 0.30 และ 0.42 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลักษณะความคงทนในการให้นม (beta, P3:1 และ P3:T) มีค่าสูงกว่า 0.62 (p<0.05) และการหาความสัมพันธ์ของคุณค่าการผสมพันธุ์ที่วิเคราะห์โดย RRM และ AM ด้วยวิธี Pearson correlation และ Spearman rank correlation พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตามการใช้ RRM จะสามารถอธิบายอิทธิพลของสภาพแวดล้อมได้มากกว่า ซึ่งจะทำให้การประเมินค่าทางพันธุกรรมมีความถูกต้องมากกว่าการใช้ AM |
en |
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this study were to estimate genetic parameters and breeding values of persistency in crossbred dairy cattle using random regression model (RRM) and animal model (AM). Data consisted of 10,415 test day records of 645 cows in their first three lactations in 1984-2000. The persistency measures included the slope of the regression line (beta), the ratios between the milk yields of days 201-305 to days 100 (P3:1) and the ratios between days 201-305 to total milk yields of days 305 (P3:T). The estimates of variance components were obtained by resticted maximum likelihood (REML). The factors such year-season of calving, breed group, lactation numbers, age at calving, days in milk and days in milk at first test dates significantly affected the persistency measures (p<0.05). Heritability estimates of beta P3:1 and P3:T by AM were lower (0.14, 0.10 and 0.07, respectively) than estimates by RRM were P1, P2 and P3 (0.14, 0.30 and 0.42 respectively). The genetic correlation of persistency measures among beta, P3:1 and P3:T ws over 0.62 (p<0.05). Correlation of EBVs using RRM and AM in which calculated by Pearson correlation and Spearman rank correlation were significant (p<0.05). However, RRM could define the environmental effect batter than AM. |
en |
dc.format.extent |
3914081 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
โคนม |
en |
dc.subject |
พันธุกรรม |
en |
dc.subject |
น้ำนม |
en |
dc.subject |
การปรับปรุงพันธุ์ |
en |
dc.subject |
การวิเคราะห์การถดถอย |
en |
dc.title |
การประเมินค่าทางพันธุกรรมของลักษณะความคงทนในการให้นมในโคนมลูกผสมโดยใช้โมเดลถดถอยเชิงสุ่ม |
en |
dc.title.alternative |
Genetic evaluation of persistency in crossbred dairy cattle using random regression model |
en |
dc.type |
Thesis |
en |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ |
en |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Somchai.C@Chula.ac.th |
|