DSpace Repository

การบำบัดโรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติในสุนัขโดยการเชื่อมแนวประสานเชิงกรานส่วนหน้า

Show simple item record

dc.contributor.advisor กัมปนาท สุนทรวิภาต
dc.contributor.advisor อติชาต พรหมาสา
dc.contributor.author กัลยดา มังคละพฤกษ์, 2523-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2006-09-18T10:23:02Z
dc.date.available 2006-09-18T10:23:02Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9745318981
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2593
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en
dc.description.abstract การเชื่อมแนวประสานเชิงกรานส่วนหน้าของสุนัขโดยใช้แผ่นโลหะดามกระดูกและสกรู ในสุนัขทดลอง 5 ตัว และสุนัขที่เป็นโรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติในระยะเริ่มต้น 10 ตัว โดยหาทำศัลยกรรมตัด 1 ใน 3 ของแนวประสานเชิงกรานส่วนหน้า และเชื่อมด้วยแผ่นโลหะดามกระดูกและสกรู ประเมินผลจากการใช้ขาของสุนัข และวัดมุม NA, DARS และ DAR จากภาพถ่ายเอ็กซเรย์ ก่อนทำศัลยกรรม และทันที 1 เดือน และ 3 เดือนหลังทำศัลยกรรม พบว่า NA และ DAR เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่ DARS ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ภายหลังทำศัลยกรรมในสุนัขทั้ง 2 กลุ่ม 75% ของข้อสะโพกสุนัขป่วยทั้งหมด (15 ใน 20 ข้อสะโพก) ไม่มี Ortolani sign ภายหลังทำศัลยกรรม และไม่พบอาการแทรกซ้อนใดๆ ในสุนัขทดลองภายหลังการทำศัลยกรรม สุนัขป่วยซึ่งเดินกะเผลกก่อนทำศัลยกรรม สามารถก้าวเป็นปกติหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ จากการศึกษานี้สรุปได้ว่า การเชื่อมแนวประสานเชิงกรานส่วนหน้าของสุนัขโดยใช้แผ่นโลหะดามกระดูกและสกรู สามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับรักษาโรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติได้ en
dc.description.abstractalternative Pubic symphysiodesis (PS) by using a bone plate and screws was performed in 5 experimental dogs and 10 hip dysplastic dogs that had been diagnosed and classified as grade I according to clinical and radiographic findings. After resection of cranial one third of pubic symphysis, the rest of the symphysis was fixed by using a dynamic compression plate and screws. Animal gait, Norberg angle (NA), dorsal acetabular rim slope (DARS) and dorsal acetabular rim angle (DARA) were evaluated before, immediate, 1 and 3 months after surgery from radiographs. NA and DAR of both groups of dogs were significantly (p<0.05) greater than the preoperative values while DARS was less than the preoperative values. After surgery, negative Ortolani sign was found in 75% of the dysplastic dogs. No complication was observed in experimental dogs. The dysplastic dogs with preoperative lameness had normal gaits after 1 postoperative week. In conclusion, PS technique using a bone plate and screws can be used as an alternative treatment of canine hip dysplasia. en
dc.format.extent 6587155 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject กระดูก -- ศัลยกรรม en
dc.title การบำบัดโรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติในสุนัขโดยการเชื่อมแนวประสานเชิงกรานส่วนหน้า en
dc.title.alternative The pubic symphysiodesis for optional treatment of canine hip dysplasia en
dc.type Thesis en
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์ en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Kumpanart.S@Chula.ac.th
dc.email.advisor Atichat.B@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record