Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์จีน-เวียดนาม ก่อนและหลัง “สงครามลังสอน” ค.ศ.1979 โดยมุ่งศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่การทำสงครามสั่งสอนระหว่างจีนและเวียดนาม ระหว่าง วันที่ 17 กุมภาพันธ์ -16 มีนาคม ค.ศ.1979 รวมทั้งอธิบายถึงความสัมพันธ์ของจีนกับเวียดนาม หลังจากสงครามสั่งสอนลิ้นสุดลง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ พฤติกรรมของจีนในการดำเนินความสัมพันธ์กับเวียดนาม ซึ่งถือเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีสภาพ ทางภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับจีนมากที่สุดในบรรดาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในการศึกษาความสัมพันธ์จีน-เวียดนาม ก่อนและหลัง “สงครามลังสอน” ค.ศ.1979 นั้น ได้นำทฤษฎีสัจนิยมและแนวความคิดเขตอิทธิพลมาเป็นแนวทาง ในการศึกษาและวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่นำไปสู่การทำสงครามสั่งสอนของจีนต่อเวียดนาม ระหว่างวันที่ 17 กุมภาพันธ์ - 16 มีนาคม ค.ศ.1979 คือ การที่จีนต้องการรักษาความมั่นคงในเขตอิทธิพล ของตน เนื่องจากเวียดนามในขณะนั้นมีพฤติกรรมที่จีนถือว่าเป็นการก้าวร้าว ดังนั้น จากพฤติกรรม ของเวียดนามดังกล่าว จึงจำเป็นที่จีนต้องใช้กำลังเพื่อเป็นการ “สั่งสอน” โดยถือเป็นการ “ลงโทษ” เวียดนามที่มีพฤติกรรมที่จีนถือเป็นการก้าวร้าวและทำลายความมั่นคงในเขตอิทธิพลของตน อย่างไรก็ดี จากการทำสงครามดังกล่าว แม้ว่าจีนและเวียดนามจะไม่ได้ตัดขาดความสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่ความสัมพันธ์ทางการทูตของทั้งสองประเทศก็ได้ลดระดับลงไปสู่ระดับต่ำสุด อย่างไรก็ตาม หลังจากสงครามสิ้นสุดลง ทั้งจีนและเวียดนามต่างพยายามเจรจากัน แต่เนื่องจาก ยังคงมีความขัดแย้งและความคลางแคลงใจระหว่างกัน จึงทำให้กระบวนการปรับความสัมพันธ์ ระหว่างจีนและเวียดนามดำเนินไปอย่างไม่ง่ายดายนัก แต่กระนั้นก็ตาม ทั้งจีนและเวียดนาม ต่างพยายามขจัดปัญหาที่ถือเป็นอุปสรรคในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ.1991 จีนและเวียดนามได้ตกลงฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันสู่ระดับปกติอีกครั้งหนึ่ง และยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีมาจนถึงทุกวันนี้