Abstract:
อุตสาหกรรมไฟฟ้าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจากระบบผูกขาดโดยรัฐเป็นระบบแข่งขัน ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะผลกระทบที่มีต่อสวัสดิการผู้บริโภค ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงต้องการศึกษาอำนาจตลาดของผู้ผลิตในตลาด Spot ภายหลังการเปิดเสรีกิจการไฟฟ้า การศึกษาของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เริ่มต้นจากการสร้างแบบจำลองที่มีลักษณะเฉพาะของแบบจำลอง Cournot และแบบจำลอง Dominant firm เพื่อประเมินราคาตลาดและต้นทุนส่วนเพิ่ม จากนั้นจึงวัดระดับอำนาจตลาดด้วย Industry Lerner index ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้โครงสร้างไฟฟ้าแบบใหม่ ราคาในตลาด Spot จะมีค่าสูงมากทั้งในชั่วโมงที่ Peak และชั่วโมงที่ Off-peak ขณะที่การซื้อขายไฟฟ้าจะมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการใช้ไฟฟ้า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ผลิตในตลาด Spot มีอำนาจตลาดสูงมากทั้งในชั่วโมงที่ Peak และชั่วโมงที่ Off-peak และแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงของอำนาจตลาดระหว่างตลาด Spot กับตลาด Real-time เนื่องจากลักษณะเฉพาะของพลังงานไฟฟ้าที่ไม่สามารถเก็บรักษาได้ และการเป็นตลาดสุดท้ายในการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าของตลาด Real-time นอกจากนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังพบว่า การเพิ่มขึ้นของปัจจัยอย่างน้อย 3 ปัจจัยจะส่งผลให้ผู้ผลิตมีอำนาจตลาดลดลง ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา จำนวนบริษัทที่เกิดจากการแบ่งแยกโรงไฟฟ้าใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลของกฟผ. และความสามารถในการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ตามลำดับ โดยการใช้ปัจจัยเหล่านี้ในชั่วโมง Peak จะได้ผลดีกว่าชั่วโมงที่ Off-peak อย่างไรก็ตาม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้พบว่า การเพิ่มปริมาณการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังน้ำในชั่วโมง Off-peak