DSpace Repository

ผลของการเสริมไลซินต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพซากของสุกร : รายงานผลการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author สุวรรณา กิจภากรณ์
dc.contributor.author วรรณี เมืองเจริญ
dc.contributor.author จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ
dc.contributor.author สุวัฒน์ กลิ่นหอม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวบาล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวบาล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวบาล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวบาล
dc.date.accessioned 2006-09-18T12:04:41Z
dc.date.available 2006-09-18T12:04:41Z
dc.date.issued 2532
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2602
dc.description.abstract สุกรลูกผสมสามสายเลือด จำนวน 40 ตัว เป็นเพศผู้ตอน และเพศเมียอย่างละ 20 ตัว เลี้ยงแบบขังเดี่ยว สุกรถูกแบ่งโดยสุ่มออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 10 ตัว เป็นเพศผู้ตอนและเพศเมียอย่างละ 5 ตัว สุกรแต่ละกลุ่มได้รับอาหารทดลองที่มีโปรตีน 14.07 และ 13.09% มีไลซีน 0.61 และ 0.46% ในช่วงน้ำหนัก 30-60 และ 60-100 กก. เสริมด้วยไลซีนสังเคราะห์ในระดับ 0, 0.2, 0.4, 0.5 และ 0, 0.1, 0.2, 0.3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ อาหารทดลองทั้งสองช่วงน้ำหนักมีพลังงานใช้ประโยชน์ 3200 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมของอาหาร น้ำหนักสุกรเริ่มทดสอบ 29.73 +- 1.97 กก. และหลังทดสอบ 100.7 +- 1.44 กก. จากนั้นจึงนำไปฆ่าเพื่อวัดคุณภาพซากวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Analysis of Variance เพื่อทดสอบผลของระดับไลซีน เพศของสุกร รวมทั้งปฏิกิริยาร่วมระหว่างระดับไลซีนกับเพศ และตรวจสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยโดยใช้ Duncan's New Multiple Range Test. ผลการทดลองพบว่า การเพิ่มระดับไลซีนในอาหารสุกรช่วงน้ำหนัก 30-60 และ30-100 กก. ทำให้การเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสุกรที่เสริมไลซีนสังเคราะห์ในระดับ 0.4% ในช่วงน้ำหนัก 30-60 กก. (P<.01) แต่ไม่มีผลในสุกรช่วงน้ำหนัก 60-100 กก. สุกรเพศผู้ตอนโตเร็วกว่า และใช้เวลาในการทำน้ำหนักสั้นกว่าเพศเมีย (P<.01) ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและไลซีนพบว่า การเพิ่มระดับไลซีนในอาหารมีผลทำให้สุกรได้รับไลซีนต่อวันสูงขึ้นตามระดับไลซีนที่เพิ่มขึ้น (P<.01) ประสิทธิภาพการใช้ไลซีนลดลง (P<.01) ในทุกช่วงน้ำหนัก สุกรที่ได้รับไลซีนสูงจะมีประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และอัตราส่วนระหว่างไลซีนและพลังงานสูงตามไปด้วย (P<.01) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสุกรช่วงน้ำหนัก 30-60 กก. ไม่พบความแตกต่างในเรื่องเพศต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานและไลซีน คุณภาพซาก พบว่าความแตกต่างของเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงต่อน้ำหนักซากอุ่นและเย็น และเปอร์เซ็นต์ไขมันต่อน้ำหนักซากอุ่นและเย็น (P<.05) สุกรที่ได้รับอาหารเสริมไลซีนในระดับ 0.2 และ 0.1% ในช่วงน้ำหนัก 30-60 และ 60-100 กก. ให้เปอร์เซ็นต์เนื้อแดงต่อน้ำหนักซากอุ่นและเย็นสูงกว่า และมีเปอร์เซ็นต์ไขมันต่อน้ำหนักซากอุ่นและเย็นต่ำกว่าสุกรที่ได้รับไลซีนระดับอื่น สุกรเพศเมียมีความยาวซาก ปริมาณเนื้อแดงทั้งหมด และเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงต่อน้ำหนักซากอุ่นและซากเย็นสูงกว่า ขณะที่มีความหนาไขมันสันหลังเฉลี่ย พื้นที่หน้าตัดไขมันต่อพื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน และเปอร์เซ็นต์ไขมันต่อน้ำหนักซากอุ่นและซากเย็นต่ำกว่าสุกรเพศผู้ตอน ทางด้านต้นทุนค่าอาหารพบว่าไม่มีความแตกต่างในทางสถิติของต้นทุนค่าอาหารต่อระดับไลซีนและเพศ และไม่พบปฏิกิริยาร่วมระหว่างระดับไลซีนกับเพศในทุกลักษณะที่สังเกต en
dc.description.abstractalternative Forty three-way crossbred pigs, consisted of 20 barrows and 20 gilts, were used to test the effects of lysine levels on growing pig performances and carcass characteristics. Standard rations in the experiment contained 14.07 and 13.09% protein with 0.61 and 0.46% lysine for growing (30-60 kg) and finishing (60-100 kg) periods respectively. Pigs were randomly divided into four groups of 10 with equal number of barrows and gilts, to receive the standard ration supplemented with four different levels of synthetic lysine, 0.0, 0.2, 0.4, 0.6 and 0.0, 0.1, 0.2 0.3 % during the 2 periods. The on-test average weight was 29.73 +- 1.97 kg and off-tested at 100.7 +- 1.44 kg. Carcass evaluation was then conducted. Analysis of Variance was performed to test the effects of lysine levels, sex and interaction. Group mean comparison was made using Duncan's New Multiple Range Test. Results showed that lysine supplementationimproved growth efficiency of pigs during 30-60 kg. (P<.01) and 30-100 kg. Periods. Marked improvementwas seen when supplemented with 0.4% in pigs during 30-60 kg. Period. Barrows grew faster and spent less number of days on test than gilts (P<.01). Lysine supplementation also resulted inincreasing daily lysine intake per day (P<.01) but reducing efficiency of lysine utilization in all weight ranges (P<.01). Pigs received high lysine level were more efficient in energy utilization and lysine/energy ratio (P<.01) especially at 30-60 kg period. No sex differences in efficiency of energy and lysine utilization were found. Carcass evaluation revealed differences in lean and fat percentage based on hot and chilled carcass weight (P<.05). Pigs received 0.2 and 0.1% lysine supplement during 30-60 and 60-100 kg periods gave higher lean and lower fat percentage on hot and chilled carcass basis than the other groups. Gilt carcasses were longer, gave more total lean meat and lean percentage on hot and chilled carcass basis but thicker average backfat, higher fat/loin area ratio and fat percentage on hot and chilled carcass basis than barrows. Lysine level and sex did not affect feed cost. No lysine by sex interaction was observed in any traits. en
dc.description.sponsorship กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช en
dc.format.extent 6710827 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject สุกร--อาหาร en
dc.subject ไลซีน en
dc.subject กรดอะมิโน en
dc.subject โภชนาการสัตว์ en
dc.title ผลของการเสริมไลซินต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพซากของสุกร : รายงานผลการวิจัย en
dc.title.alternative Effect of lysine supplement on growth performances and carcass characteristics of growing and finishing pigs en
dc.type Technical Report en
dc.email.author Suwanna.Ki@Chula.ac.th
dc.email.author Chancharat.R@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record