Abstract:
ประเมินสถานภาพเชื้อตัวผู้จากน้ำเชื้อโรคและกระบือแช่แข็ง และน้ำเชื้อสดสุกรโดยใช้สารเรืองแสงทั้งวิธีแห้งและเปียก เพื่อแยกเชื้อตัวผู้ที่เป็น/ตายออกจากกัน พร้อมทั้งแยกพวกที่มีสันอโครโซมปกติ (มีศักยภาพในการจะเกิดปฏิกิริยาอโครโซมได้) ออกจากพรากที่เกิดปฏิกิริยาอโครโซมจริงและพวกที่มีอโครโซมเสียหายหรือลอกหลุดด้วย ในการประเมินสถานภาพโดยใช้วิธีแห้งนั้นต้องใช้ความเข้มข้นของสารเรืองแสงเป็น 5 microgram/ml เท่านั้น จึงสามารถพบเชื้อตัวผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าประเมินสถานภาพหลังจากนั้น 7 วัน (D7) พบเชื้อตัวผู้ตายมากขึ้น (โค 41.3%กระบือ 24.4% และสุกร 18.5%) หากทิ้งไว้ 14 วันจะไม่สามารถประเมินสถานภาพเชื้อตัวผู้จากน้ำเชื้อแช่แข็ง (โคและกระบือ) ได้ เพราะเชื้อตัวผู้ตายทั้งหมด ส่วนน้ำเชื้อสด (สุกร) 14 วันหลังการทดลองพบมีตัวตายเพิ่มขึ้นจากวันที่ทำการทดลอง 16.5% สำหรับการประเมินสถานภาพโดยวิธีเปียกที่ใช้ความเข้มข้นของสารเรืองแสงต่างกัน (10 และ 20 microgram/ml) พบว่าจำนวนเชื้อตัวผู้เป็นที่มีสันอโครโซมปกติ และจำนวนเชื้อตัวผู้ตายทั้งหมดเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากในทุกช่วงเวลา (DO, D7 และ D14) ผลจากการทดลองครั้งนี้ชี้แนะว่าควรใช้ความเข้มข้นของสารเรืองแสง 5 microgram/ml ในวิธีแห้ง และ 10 หรือ 20 microgram/ml ในวิธีเปียก เมื่อสารเรืองแสงจับกับ DNA ของเชื้อตัวผู้แล้ว ตรวจได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ phase contrast แต่จะไม่สามารถจำแนกสถานภาพของอโครโซมได้อย่างสมบูรณ์ ต้องใช้กล้องจุลทัศน์ฟลูออเรสเซนตรวจร่วมด้วย สำหรับการจำแนกสถานภาพของอโครโซมนั้นขอแนะนำให้ใช้กล้องจุลทัศน์ dark field และการเตรียมน้ำเชื้อโดยวิธีเปียกทำให้สามารถแยกตัวเป็น/ตายออกจากกันได้ รวมทั้งสามารถจำแนกเชื้อตัวผู้ที่มีศักยภาพในการจะเกิดปฏิกิริยาอโครโซม ออกจากพวกที่เกิดปฏิกิริยาอโครโซมแล้ว และพวกที่มีอโครโซมเสียหายหรือลอกหลุด