Abstract:
สุกรรุ่นตัดม้ามอายุ 4 เดือน ขนาดน้ำหนัก 35-40 กก. จำนวน 3 ตัว เมื่อเลี้ยงไว้ในพื้นที่ที่มีการพบเชื้อริกเก็ตเซีย eperythrozoon อย่างชุกชุมจะมีโอกาสติดโรคได้ตามธรรมชาติ แต่สุกรสามารถขจัดเชื้อได้เองและเติบโตตามปกติโดยไม่แสดงอาการป่วย ในขณะที่เมื่อทดลองกับสุกรเล็กตัดม้าม อายุ 2 เดือน ขนาดน้ำหนัก 15 กก. 1 ตัว ให้ได้รับการฉีดเชื้อจะสามารถพบเชื้อในกระแสโลหิตในสัปดาห์ที่ 2 หลังฉีด โดยทั่วไปแล้วสัตว์จะแสดงอาการป่วยเพียงเล็กน้อย ตรวจพบเชื้อในกระแสโลหิตไปจนถึงสัปดาห์ที่ 12 จึงสามารถขจัดเชื้อได้จนหมดสิ้น สัตว์เติบโตค่อนข้างปกติ สำหรับสุกรอนุบาลตัดม้ามเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ น้ำหนักเฉลี่ย 8.8 กก. จำนวน 15 ตัว ที่ได้รับการฉีดเชื้อในปปริมาณมากจะแสดงอาการของโรคอย่างรุนแรงและชัดเจนใกล้เคียงกับอาการของโรคอหิวาต์สุกรคือ มีสภาพโลหิตจางและดีซ่าน ไข้สูง นอนสุมกัน เดินโซเซ ต่อมน้ำเหลืองบวม เมื่อเปิดผ่าซากพบลักษณะ icteroanemia ในอวัยวะภายในทุกส่วน ค่าโลหิตวิทยาเป็นลักษณะของโลหิตจ่างบอย่างรุนแรง ค่าเม็ดเลือดขาวรวมสูงขึ้นและพบเชื้ออย่างมากเมื่อย้อมด้วยสีย้อม Giemsa การฉีดรักษาด้วยยา imidocarb dipropionate ในขนาด 5 มก./กก. น้ำหนักตัว เมื่อสัตว์แสดงอาการถึงที่สุดพบว่า ไม่สามารถยับยั้งความเสียหายๆด้ โดยสุกรจะตายต่อไปอีกหลายวัน จนกระทั่งถึงสัปดาห์ที่6 หลังจากฉีดให้การรักษายังคงตรวจพบเชื้อได้
ลูกสุกรดูดนมและสุกรเล็กอายุระหว่าง 2-5 สัปดาห์ จำนวน 148ตัว จากฟาร์มเกษตรกร 4 ฟาร์มในจังหวัดนครปฐมที่ตรวจพบการติดเชื้อริกเก็ตเซีย eperythrozoon ตามธรรมชาติในระดับตรวจพบได้จนถึงพบเชื้อปานกลาง (+ จนถึง +++) ได้รับการฉีดรักษาด้วยยา imidocarb dipropionate เข้าใต้หนังขาหลังในขนาด 5 มก./กก. น้ำหนักสุกร หลังจากการฉีดรักษาเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ได้เจาะเลือดย้อมสี Giemsa's stain เพื่อตรวจหาการลดปริมาณของเชื้อบนเม็ดโลหิตแดง เฉพาะในฟาร์มที่ 4 ได้เจาะตรวจซ้ำอีกครั้งในสัปดาห์ที่ 3 หลังจากฉีด ผลปรากฏว่าในสัปดาห์ที่ 1 หลังจากฉีดมีจำนวนสุกรเพียง 37.16% ที่พบว่ามีระดับปริมาณการติดเชื้อลดลง ซึ่งแยกเป็นจำนวนที่บ่งถึงประสิทธิภาพของยาในระดับออกฤทธิ์ดี 0.68% ประสิทธิภาพปานกลาง 7.43 และประสิทธิภาพพอใช้ 29.05% และผลของการตรวจในฟาร์มที่ 4 เมื่อ 3 สัปดาห์หลังจากฉีดพบว่าจำนวนสุกรที่ได้ผลเพิ่มขึ้นเป็น 72.13% ซึ่งแบ่งเป็นประสิทธิภาพปานกลาง 22.95% และประสิทธิภาพพอใช้ 49.18% อย่างไรก็ตามลูกสุกรทุกตัวที่ศึกษา แม้ยังคงพบที่มีระดับการติดเชื้อในเม็ดโลหิตแดงหลังจากฉีดยารักษาแล้วก็ยังสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างปกติ