Abstract:
การทดลองครั้งนี้ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติต่างๆ ของเชื้อ Burkholderia pseudomallei ที่แยกได้จากเลือดผู้ป่วยในประเทศไทย และเลือดโลมาปากขวดที่ป่วยในเกาะฮ่องกง เพื่อนำเทคนิค indirect ELISA ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการวินิจฉัยโรคเมลิออยโดซิสในมนุษย์ นำมาประยุกต์ในโลมาปากขวด สิ่งที่ศึกษา ได้แก่คุณสมบัติทางชีวเคมีของเชื้อโดยใช้ API 20NE พบว่า เชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วยและโลมามีคุณสมบัติเหมือนกัน ผลการศึกษาองค์ประกอบโปรตีนของเชื้อด้วยวิธี SDS-PAGE พบว่าเชื้อทั้งสองมีองค์ประกอบโปรตีนเหมือนกัน ผลการศึกษาการมี 200 kDa Exopolysaccharide (EPS) ของเชื้อด้วยวิธี Western blot พบว่าเชื้อทั้งสองมี 200 kDa EPS เหมือนกัน เมื่อทำการสกัดแยก 200 kDa EPS ด้วยวิธี Affinity purified chromatography โดยใช้ MAb 5F8 เปรียบเทียบกับ MAb 4B11แล้วนำมาประยุกต์ใช้วิธีindirect ELISAเพื่อวัดระดับ IgG พบว่าการใช้แอนติเจนที่สกัดโดย MAb ทั้ง 2 ชนิดให้ผลเหมือนกันคือ มี sensitivity ที่ดีที่สุดเท่ากับ 75% ที่เวลา 1 เดือนหลังโลมาแสดงอาการป่วยในโลมากลุ่ม positive และ 75% ที่เวลา 2 สัปดาห์หลังโลมาแสดงอาการป่วยในโลมากลุ่ม suspected ส่วน specificity เท่ากับ 88.89 และ 90.74 ตามลำดับ วิธีนี้เหมาะที่จะใช้ในการวินิจฉัยโรคเมลิออยโดซิสร่วมกับวิธีอื่นๆ และใช้ในการเฝ้าระวังการเกิดโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด