Abstract:
จากการกระตุ้นการเจริญของฟอลลอเคิลในรังไข่ลูกระบือปลักก่อนวัยเจริญพันธุ์อายุ 8-12 เดือน จำนวนทั้งหมด 10 ตัว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ใช้ลูกกระบือ 5 ตัวในการฉีดฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน ชนิด เอฟ เอส เอช FSH) ขนาด 24 มก ครั้งแรก และหลังจากนั้น 2 เดืนอ ฉีดฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน ชนิด พี เอ็ม เอส จี (PMSG) ขนาด 3000 ไอยู และกลุ่มที่ 2 ใช้ลูกกระบือ 5 ตัว ฉีดฮอร์โมน พี เอ็ม เอส จี ครั้งแรก และหลังจากนั้น 2 เดืนอ ฉีดฮอร์โมน เอฟ เอส เอช ตรวจสอบการตอบสนองและเก็บโอโอไซต์ด้วยวิธีการผ่าตัดเปิดช่องท้อง นับจำนวนฟอลลิเคิล (phi >- 0.8 ซม) ผลการศึกษาพบว่า รังไข่มีการตอบสนองต่อฮอร์โมน เอฟ เอส เอช มากกว่าฮอร์โมน พี เอ็ม เอส จี (13.9+-8.6 ใบ เทียบกับ 59+-3.3 ใบ, p<0.01) ได้จำนวนโอโอไซต์เฉลี่ยจากฮอร์โมนเอฟ เอส เอช เท่ากับ 8.3+-5.0 ใบต่อตัว คิดเป็นอัตราการเก็บโอโอไซต์เท่ากับ 63.8% และจากฮอร์โมน พี เอ็ม เอส จี เท่ากับ 4.6+-3.2 ใบต่อตัว คิดเป็นอัตราการเก็บโอโอไซต์เท่ากับ 82% นำโอโอไซตที่เจริญไม่เต็มที่จำนวน 38 ใบ มาเลี้นงต่อในหลอดทดลองนาน 24-25 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดสภาวะพร้อมปฏิสนธิ พบว่า 52.6% (20/38) อยู่ในระยะเมตาเฟส ทู การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้รังไข่ลูกระบือปลักหลังกระตุ้นด้วยฮอร์โมนโกนาโดโทรปินเป็นแหล่งโอโอไซต์และโอโอไซต์นี้สามารถเกิดสภาวะพร้อมปฏิสนธิในหลอดทดลอง