Abstract:
ศึกษาการผลิตตัวอ่อนด้วยการปฏิสนธินอกร่างกายจากโอโอไซด์ของลูกโคพื้นเมืองก่อนวัยเจริญพันธุ์อายุ 4-6 เดือน หลังจากกระตุ้นครั้งแรกและกระตุ้นซ้ำอีก 3 ครั้ง ด้วยฟอลลิคูล่าร์สติมูเรดดิ้ง ฮอร์โมน ขนาด 192 มก. ฉีดเข้ากล้ามวันละ 2 ครั้ง (เช้า/เย็น) ติดต่อกัน 4 วัน โดยขนาดลดโด๊ส (32/32ม24/24ม24/24ม16/16) ตรวจการตอบสนองของรังไข่และการเก็บโอโอไซด์ด้วยวิธีการผ่าตัดเปิดช่องท้องหลังกระตุ้นเข็มสุดท้าย 60 ชม. นำโอโอไซด์ที่ได้มาเลี้ยงให้เกิดสภาวะพร้อมปฏิสนธินอกร่างกาย และปฏิสนธิกับตัวอสุจิ แล้วนำตัวอ่อนที่ได้เลี้ยงในน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อนหรือฝากในท่อนำไข่ของแกะหรือกระต่ายนาน 6 วัน ผลการศึกษาพบว่า การตอบสนองของรังไข่ของลูกโคต่อการฉีดกระตุ้นฮอร์โมนมีความผันแปรค่อนข้างสูงในลูกโคแต่ละตัว โดยมีค่าเฉลี่ยของการตอบสนองของรังไข่ (ฟอลลิเคิล+คอร์ปัส ฮีโมราจีกัม) จากการกระตุ้น 4 ครั้ง เท่ากับ 31.9+-3.0 ใบ/ครั้ง/ตัว ได้โอโอไซด์เฉลี่ยเท่ากับ 17.6+-1.8 ใบ/ครั้ง/ตัว คิดเป็นอัตราการเก็บโอโอไซด์เท่ากับ% การกระตุ้นทำให้ผลของการตอบสนองของรังไข่และจำนวนโอโอไซด์เฉลี่ยต่อตัวลดลงจากการกระตุ้นครั้งแร (P<0.05) โอโอไซด์สามารถเจริญพร้อมปฏิสนธิในอัตราเฉลี่ย 73.6% และอัตราการแบ่งตัวหลังเลี้ยงในหลอดทดลองเท่ากับ 31.6% ตัวอ่อนที่เลี้ยงไว้ในท่อนำไข่ของแกะหรือกระต่ายสามารถแบ่งตัว และพัฒนาจนถึงระยะมอรูล่าและระยะบลาสโตซีดได้แต่ท่อนำไข่ของแกะดูจะเหมาะสมมากกว่า สามารถนำตัวอ่อนไปแช่แข็งและบางส่วน (20%) พัฒนาได้หลังแช่แข็งในหลอดทดลอง นอกจากนี้ทางคณะผู้วิจัยได้พัฒนาการเก็บโอโอไซด์ในลูกโคด้วยวิธีการเจาะผ่านช่องคลอดด้วยเครื่องมือคลื่นความถี่สูง รวมทั้งได้ปรับเทคนิคนี้ไปใช้การกระตุ้นและเก็บโอโอไซด์ในลูกโคที่มีพันธุกรรมดี การศึกษานี้จะเป็นแนวทางใหม่ในการนำเอาเทคนิคการผลิตตัวอ่อนจากลูกโคก่อนวัยเจริญพันธุ์ไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ได้รวดเร็วขึ้นด้วยการไปลดช่วงห่างระหว่างชีวิตได้