Abstract:
จุดประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาการพัฒนาของตัวอ่อนสุกรที่เกลี้ยงชั่วคราวในท่อนำไข่กระต่าย เก็บตัวอ่อนสุกรระยะ 1-4 เซลล์ จำนวน 313 ตัวอ่อน จากสุกรสาวก่อนวัยเจริญพันธุ์ น้ำหนักประมาณ 90-100 กก. หลังทำการผสม 2.0-2.5 วัน นำตัวอ่อนสุกรย้ายไปฝากในท่อนำไข่กระต่ายที่ไม่รู่วงจรการเป็นสัด ด้วยการใช้ท่อโปลีเอสทีลีนสอดเข้าทางปากแตร โดยให้มีปริมาตรของน้ำยาแขวนลอยน้อยที่สุด วางตัวอ่อนที่ 2.5 ซม จากปากแตร และเลี้ยงตัวอ่อนได้เท่ากับ 52% (68/131), 60% (57/95), 58% (34/59) และ 0% (0/28) ตามลำดับ ในส่วนอัตราของตัวอ่อนปกติได้เท่ากับ 90% (61/68), 79% (45/57) และ 68% (23/34) ทำการฝากตัวอ่อนที่เลี้ยงไว้นาน 48 ชม และ 72 ชม ในสุกรตัวรับที่มีวงจรการเป็นสัดใกลี้เคียงกับตัวอ่อน ในสุกรจำนวน 5 ตัว สุกรกลับเป็นสัดจำนวน 4/5 ตัว และ 1/5 ไม่แสดงอาการเป็นสัดจนครบกำหนดคลอด ผลการตรวจด้วยวิธีการส่องดูในช่องท้อง ไม่พบมีการตั้งท้อง การศึกษานี้สามารถเลี้ยงตัวอ่อนได้นาน 96 ชม โดยตัวอ่อนเจริญปกติ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์เพื่อประเมินผลการเจริญของตัวอ่อนที่ผ่านการทดลองต่าง ๆ หรือนำไปขนส่งตัวอ่อน