Abstract:
จุดประสงค์ของงานวิจัยเพื่อหาระดับแรงดูดสูญญากาศที่เหมาะสมในการเก็บโอโอๆซด์ด้วยวิธีการใช้เครื่องมือคลื่นเสียงความถี่สูงสอดผ่านทางช่องคลอดในกระบือปลักไทย โดยทำศึกษาในกระบือปลักสาวหลังวัยเจริญพันธ์ (การทดลองที่ 1) และลูกกระบือปลักก่อนวัยเจริญพันธุ์ (การทดลองที่ 2) ที่ได้รับการกระตุ้นด้วยฟอลลิเคิล สติมูเลติง ฮอร์โมน (FSH) ก่อนทำการเก็บโอโอไซด์ วัดความสำเร็จจากอัตราการเก็บโอโอไซด์และคุณภาพของโอโอไซต์ที่เก็บได้ และประเมินสภาวะพร้อมปฏิสนธิด้วยการย้อมสีโอโอไซต์ การทดลองที่1 ทดลองในกระบือปลักสาว อายุ 3 ปี จำนวน 6 ตัว ที่ได้รับการกระตุ้นด้วยฮอร์โมน FSH ขนาด 280 มก. โดยแบ่งฉีด 3 วัน ติดต่อกัน (เช้า/เว็น 60/60, 50/50, 30/30 มก.) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ใช้แรงดูดในระดับ 100 mmHg กลุ่มที่ 2 ใช้แรงดูดในระดับ 80 mmHg และกลุ่มที่3 ใช้แรงดูดในระดับ 60 mmHg แต่ละกลุ่มทำการเก็บ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 2 เดือน ครั้งละ 6 ตัว โดยหมุนเวียนกันจัดกลุ่มระดับแรงดูดด้วยการสุ่มรวมการเก็บทั้งหมด 36 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่าที่ระดับแรงสุดที่ 100 และ 80 mmHg ให้อัตราการเก็บโอโอไซต์ไม่แตกต่างกันเท่ากับ 81.2% (69/85) และ 79.1% (53/67) ส่วนที่ระดับแรงดูดที่ 60 mmHg ให้อัตราการเก็บไอโอไซต์เท่ากับ 90.1% (93/103) สูงกว่ากลุ่มแรงดูดอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ได้จำนวนโอโอไซต์ในแต่ละกลุ่ม เท่ากับ 5.33 3.27, 4.42 2.71 และ 7.75 4.31 โอโอไซต์ต่อตัว ตามลำดับ เปอร์เซนต์โอโอไซต์ที่มีคุณภาพดี (COC, S P, EXP) ไม่แตกต่างกันในทั้ง 3 ระดับ เท่ากับ 44.8, 43.4 และ 49.4% ตามลำดับ การทดลองที่ 2 ทดลองในลูกกระบือปลัก อายุ 1.5 ปี จำนวน 12 ตัว ที่ได้รับการกระตุ้นด้วยฮอร์โมน FSH ขนาด 180 มก. โดยแบ่งฉีด 3 วัน ติดต่อกัน (เช้า/เย็น, 40/40, 30/30, 20/20) โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มระดับแรงดูด คือ 100, 80 และ 60 mmHg โดยมีกระบือกลุ่มละ 4 ตัว ทำการทดลอง 2 รอบ ห่างกัน 2 เดือน จากการศึกษาพบว่าที่ระดับแรงดูดที่ 100 และ 80 mmHg ให้อัตราการเก็บโอโอไซต์ไม่แตกต่างกัน เท่ากับ 78.4% (29/37) และ 83.6% (61/73) ส่วนที่ระดับแรงดูดที่ 60 mmHg ให้อัตราการเก็บโอโอไซต์เท่ากับ 65.7% (23/35) ต่ำกว่ากลุ่ม 80 mmHg อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ได้จำนวนโอโอไซต์ในแต่ละกลุ่มเท่ากับ 5.8 4.87, 7.6 8.6 และ 3.29 2.06 โอโอไซต์ต่อตัว ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์โอโอไซต์ที่มีคุณภาพดี (COC, S+P, EXP) ไม่แตกต่างกันใน ทั้ง 3 ระดับ เท่ากับ 82.0, 65.5 และ 79.3% ตามลำดับ ในการกระตุ้นรังไข่ทั้งสองการทดลองพบว่า ประมาณ 80% ของฟอบบิเคิลที่ตอบสนองอยู่ในขนาด 2-6 มม. และโอโอไซต์ที่เก็บจากกระบือปลักก่อนและหลังวัยเจริญพันธุ์ การเจริญเป็นระยะ prophase 1 และ metaphase 1 จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าระดับแรงดูดสูญญากาศ การเก็บโอโอไซต์ด้วยเครื่องมือคลื่นเสียงความถี่สูงสอดผ่านทางช่องคลอดมีผลต่อการเก็บโอโอไซต์ในกระลือปลักไทย แต่ไม่มีผลต่อคุณภาพของโอโอไซต์ที่เก็บได้