Abstract:
ทำการศึกษาอัตราการตกไข่ และความสัมพันธ์ของอัตราการตกไข่กับจำนวนลูกแรกคลอดทั้งหมดในสุกรสาวพันธุ์แท้ ในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ทำการศึกษาที่ฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์ 2 แห่ง (A และ B) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระหว่างเดือนเมษายน 2544 ถึง ธันวาคม 2544 พันธุกรรมสุกรมีต้นกำเนิดจากยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ สุกรสาวได้รับการผสมเทียมเมื่อตรวจพบการเป็นสัดครั้งที่ 2 หรือมากกว่า และต้องมีน้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 130 กก. ส่วนมากได้รับการผสมเมื่อเป็นสัดครั้งที่ 3 สุกรสาวทั้งหมด 127 ตัว เป็นพันธุ์แลนด์เรซ 24 ตัว กับพันธุ์ยอร์คเชีย 24 ตัว จากฟาร์ม A และพันธุ์แลนด์เรซ 42 ตัว กับพันธุ์ดยอร์คเซีย 25 ตัว จากฟาร์ม B ได้รับการตรวจด้วยวิธีลาพาโรสโคปภายใต้การวางยาสลบทั้งตัว ในวันที่ 8-15 หลังจากผสมเทียม ทำการเตรวจนับก้อนเหลืองบนรังไข่ และบันทึกพยาธิสภาพที่พบ จำนวนก้อนเหลืองใช้แทนอัตราการตกไข่ (จำนวนไข่ที่ตก) ทำการติดตามบันทึกผลของการผสมพันธุ์จนถึงคลอดรวมทั้งจำนวนลูกที่คลอด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวน สุกรสาวพันธุ์แลนด์เรซมีอายุเมื่อผสมครั้งแรกน้อยกว่าสุกรสาวพันธุ์ยอร์คเชียอย่างมีนัยสำคัญ (244 vs. 249 วัน, P<0.05) สุกรสาวพันธุ์ยอร์คเชียมีอัตราการตกไข่สูงกว่าสุกรสาวพันธุ์แลนด์เรซอย่างมีนับสำคัญ (15.3 VS. 13.8 ใบ, P<0.001) จำนวนลูกแรกคลอดทั้งหมดไม่แตกต่างกัน แต่สุกรสาวพันธุ์ยอร์คเชียมีการสูญเสียไข่/ตัวอ่อนก่อนคลอดสูงกว่าพันธุ์แลนด์เรซ การศูญเสียไข่/ตัวอ่อน ก่อนคลอดตั้งแต่ตกไข่จนถึงคลอดเท่ากับ 31.0% และ 37.5% ในพันธุ์แลนด์เรซและพันธ์ยอร์คเชียตามลำดับ ทั้งอัตราการตกไข่ต่ำและการสูญเสียสูงเป็นสาเหตุของการมีขนาดครอกเล็กในสุกรสาวที่เลี้ยงในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น