DSpace Repository

การกำจัดซีโอดี ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสด้วยกระบวนการกำจัดธาตุอาหารทางชีวภาพ ร่วมกับกระบวนไมโครฟิลเทรชั่นเมมเบรนแบบจมตัว

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชวลิต รัตนธรรมสกุล
dc.contributor.author นัทกาญจน์ ประเสริฐสังข์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-11-27T02:43:22Z
dc.date.available 2012-11-27T02:43:22Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741747802
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26306
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้ระบบเอทรีเอ็มบีอาร์ (Anoxic-anaerobic-aerobic membrane bioreactoriA³-MBR) บำบัดน้ำเสียจากศูนย์การค้า ถึงประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส และคุณภาพน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดเพื่อการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ รวมถึงค่าพารามิเตอร์ที่มีความสำคัญทางด้านวิศวกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลกระยะเวลากักเก็บทางชลศาสตร์ในถังแอนนอกซิก ถังแอนแอโรบิก เป็น1 จาก 3 อัตราการเวียนตะกอนจากถังแอโรบิกไปถังแอนนอกซิกเป็นร้อยละ 100 ค่าฟลักซ์การกรองของเมมเบรนคงที่ 15ล./ตร.ม.-ซม. ในงานวิจัยแบ่งออกเป็นการทดลอง 4 การทดลอง ซึ่งการทดลองที่ 1 ควบคุมระยะเวลากักเก็บชลศาสตร์ของถังแอนนอกซิก ถังแอนแอโรบิกและถังแอโรบิกเป็น 2, 2 และ 4 ชั่วโมง ตามลำดับ การทดลองที่ 2 ควบคุมระยะเวลากักเก็บทางชลศาสตร์ของถังแอนนอกซิก ถังแอนแอโรบิกและถังแอโรบิกเป็น 1, 1 และ 4 ชั่วโมง ตามลำดับ การทดลองที่ 3 ควบคุมระยะเวลากักเก็บทางชลศาสตร์ของถังแอนนอกซิก ถังแอนแอโรบิกและถังแอโรบิกเป็น 1, 2 และ 4 ชั่วโมง ตามลำดับ การทดลองที่ 4 ควบคุมระยะเวลากักเก็บทางชลศาสตร์ของถังแอนนอกซิก ถังแอนแอโรบิกและถังแอโรบิกเป็น 2, 1 และ 4 ชั่วโมง ตามลำดับ ผลการทดลองที่สภาวะคงตัว พบว่าระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีร้อยละ 92-95 ประสิทธิภาพในการกำจัดไนโตรเจนร้อยละ 86-91 ประสิทธิภาพในการกำจัดฟอสฟอรัสร้อยละ 62-92 จากการทดลองพบว่าระยะเวลากักเก็บทางจลศาสตร์ของถังแอนนอกซิกและแอนแอโรบิกไม่มีผลต่อการกำจัดซีโอดี แต่มีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยที่ระยะเวลากักเก็บทางชลศาสตร์ของถังแอนนอกซิก 1 ชั่วโมง ระบบไม่สามารถกำจัดไนเตรทได้ทั้งหมด ทำให้อัตราการคายฟอสฟอรัสของระบบต่ำ ขณะที่ระยะเวลากักเก็บทางชลศาสตร์ของถังแอโรบิกมีผลต่อการอุดตันของเมมเบรน โดยระยะเวลากักเก็บทางชลศาสตร์ของถังแอโรบิก 2 ชั่วโมง เมมเบรนมีการอุดตันมากกว่า ที่ 4 ชั่วโมง จากการวิเคราะห์ค่าจลนศาสตร์ของแบคทีเรียพบว่าค่าสัมประสิทธิ์ของยิลด์ปรากฏเป็น 0.071 ก.เอ็มแอลวีเอสเอส/ก.ซีโอดี หรือเป็น 0.184 ก.เอ็มแอลวีเอสเอส/ก.บีโอดี คุณน้ำที่ผ่านการบำบัดจากการทดลองที่ 1 มีความปลอดภัยและมีสุนทรียภาพในการใช้ชำระโถส้วมตามมาตรฐานคุณภาพน้ำนำกลับของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีค่าต้นทุนทั้งหมดต่อหน่วยปริมาณการบำบัดเป็น 182 บาท/ลบ.ม. หากคิดเฉพาะค่าเดินระบบเป็น 67 บาท/ลบ.ม.
dc.description.abstractalternative This research used Anoxic -anaerobic-aerobic membrane bioreactor, A3-MBR to study the efficiencies of COD, TN and TP removal and wastewater reclamation from department-store wastewater and also to identify the engineering kinetic parameters. The objectives of this research were to reduce hydraulic detention time, HRT in anoxic, anaerobic and aerobic tank . Operated by keep sludge age for 40 days, distributed wastewater flow to anoxic : anaerobic at 1 : 3 , recycle sludge from aerobic tank to anoxic tank is 100% and keep the flux of membrane is 15 llsq.m-h The research was devided into 4 experiments. The first experiment is controlled by HRT in anoxic , anarobic and aerobic is 2 h., 2 h. and 4 h. respectively . The srcond experiment is controled by HRT in anoxic, anarobic and aerobic is 1 h., 1 h. and 4 h. respectively. The third experiment is controled by HRT in anoxic, anarobic and aerobic is 1 h., 2 h. and 4 h. respectively . The forth experiment is controled by HRT in anoxic, anarobic and aerobic is 2 h., 1 h. and 4 h. respectively. The result of the experiment at steady state had shown that the effiiency of COD removal is 92-95%, the effiiency of TN removal is 86-91% and the effiiency of TP removal is 62-92%. HRT in anoxic tank and anaerobic tank is not effecttive to efficiency of COD removal. But effects on efficiency of TN and TP removal. At lower HRT for 1 h. in anoxic tank ,N0 -3 can not removed completlely . So it makes phosphorus release rate is lower. By the way, HTR in aerobic tank effecets on membrane clogging . Membrane clogging in aerobic tank that has HRT 4 h. is more slower than HRT 2 h. Observed yield of this research is 0.071 g.MLVSS./g.COD or 0.184 g.MLVSS./g.BOD. The effluent from experiment 1 is safety and aesthetic that have met the Japan water quality standard of reclaimed water for tiolet. The total cost per volume of wastewater treatment is 187 baht/cu.m and 67 baht cu.m for operating cost.
dc.format.extent 3879549 bytes
dc.format.extent 985494 bytes
dc.format.extent 17599944 bytes
dc.format.extent 2689088 bytes
dc.format.extent 17439044 bytes
dc.format.extent 813506 bytes
dc.format.extent 14534782 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title การกำจัดซีโอดี ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสด้วยกระบวนการกำจัดธาตุอาหารทางชีวภาพ ร่วมกับกระบวนไมโครฟิลเทรชั่นเมมเบรนแบบจมตัว en
dc.title.alternative COD, nitrogen and phosphorus Removal using biological nutrient removal coupled with submerged microfiltration membrane process en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record