Abstract:
คาริโอไทป์ของจระเข้น้ำจืด (freshwater crocodile, Crocodylus siamensis) จำนวน 20 ตัว จระเข้พันธุ์น้ำเค็ม (saltwater crocodile, Crocodylus porosus) จำนวน 17 ตัว และจระเข้ลูกผสม (interspecific hydrid) ชั่วที่ 1 (F1) จำนวน 15 ตัว และชั่วที่ 2 (F2) จำนวน 10 ตัว ได้มาจากการเพาะเลี้ยงเซลล์เม็ดเลือดขาวในอาหารเลี้ยงเชื้อ Ham's F10 และ EMEM โดยทำการเพาะเลี้ยงเซลล์ในตู้อบที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส จำนวน โครโมโซมของจระเข้พันธุ์น้ำจืดคือ 2n=30 ประกอบไปด้วยโครโมโซมเมตาเซนตริคขนาดใหญ่ 5 คู่ โครโมโซมอะโครเซนตริค 1 คู่ โครโมโซมซับเมตาเซนตริค 4 คู่ และโครโมโซมเซนตริคขนาดเล็ก 5 คู่ จระเข้พันธุ์น้ำเค็มมีจำนวน โครโมโซม 2n=34 ประกอบด้วยโครโมโซมเมตาเซนตริคขนาดเล็ก 5 คู่ เช่นเดียวกับจระเข้าพันธุ์น้ำจืด แต่มีโครโมโวมเมตาเซนตริคขนาดใหญ่เพียง 4 คู่ โครโมโซมอะโครเซนตริค 5 คู่ และโครโมโซมซับเมตาเซนตริค 3 คู่ ในจระเข้ทั้งสองชนิดโครโมโซมอะโครเซนตริคคู่หนึ่งแสดงลักษณะของ secondary constriction อย่างชัดเจน คาริโอไทป์ของลูกผสมชั่วที่ 1 (F1) มีจำนวนโครโมโซม 2n=32 ประกอบไปด้วยชนิดของโครโมโซมที่เกิดจากการผสมกันของพ่อและแม่ ได้แก่ โครโมโซมเมตาเซนตริคขนาดใหญ่ 9 ตัว โครโมโซมอะโครเซนตริค 6 ตัว โครโมโซมซับเมตาเซนติค 7 ตัว และโครโมโซมเมตาเซนตริคขนาดเล็ก 10 ตัว ในลูกผสมชั่วที่ 2 (F2) ปรากฏว่าลูกผสม F2 ที่ได้คาริโอไทป์ 3 แบบ ขึ้นอยู่กับการจับคู่ของการผสมพันธุ์ ลูกที่เกิดจากการผสม F1 กับจระเข้พันธุ์น้ำจืดมีจำนวนโครโมโซม 2n=31 ในขณะที่ ลูกที่เกิดจากการผสม F1 กับจระเข้าพันธุ์น้ำเค็มมีจำนวนโครโมโซม 2n= 33 คาริโอไทป์ทั้งสองแบบมีโครโมโซมเมตาเซนตริคขนาดใหญ่ และขนาดเล็กเท่ากันคือ จำนวน 9 และ 10 ตัวตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จระเข้ที่มีจำนวนโครโมโซม /ช31 มีโครโมโซมอะโครเซนตริค 4 ตัว โครโมโซมซับเมตาเซนตริค 8 ตัวในขณะที่จระเข้ที่มีจำนวน โครโมโซม 2n=33 มีโครโมโซมอะโครเซนตริค 8 ตัว และโครโมโซมซับเมตาเซนตริค 6 ตัว คาริโอไทป์แบบที่สามได้จากการผสมระหว่างลูกผสม F1 ด้วยกัน (interse mating) มีจำนวนโครโมโซม 2n=32 ประกอบด้วยโครโมโซมเมตาเซนตริคขนาดใหญ่ 5 คู่ โครโมโซมอะโครเซนตริค 3 คู่ โครโมโซมซับเมตาเซนตริค 3 คู่ และโครโมโซมเมตาเซนตริค 3 คู่ และโครโมโซมเมตาเซนตริคขนาดเล็ก 5 คู่ อย่างไรก็ตาม คาริโอไทป์ทุกแบบที่ได้ศึกษามีจำนวนแขนของโครโมโซมที่เรียกว่า Fundamental number (NF) เท่ากันหมดคือ 58 จากการวิเคราะห์พบว่าจนะเข้ทั้งสองชนดมีความสัมพันธ์กันในเชิงวิวัฒนาการ คือ มีการเชื่อมกันของโครโมโซมอะโครเซนตริค ทำให้เกิดโครโมโซมเมตาเซนตริคหรือซับเมตาเซนตริค และก่อให้เกิดคาริโอไทป์ที่ไม่เหมือนกันในจระเข้ทั้งสองพันธุ์ การวิเคราห์สรุปได้ว่าโครโมโซมอะโครเซนตริคคู่ที่หนึ่ง และคู่ที่สองของจระเข้าน้ำเค็มเกิดการเชื่อมกันกลายเป็นโครโมโซมเมตาเซนตริคขนาดใหญ่คู่ที่สามของจระเข้พันธุ์น้ำจืด และโครโมโซมอะโครเซนตริคคู่ที่สาม และคู่ที่ห้าของจระเข้พันธุ์น้ำเค็มเกิดการเชื่อมกันกลายเป็นโครโมโซมซับเมตาเซนตริคคู่ที่ 1 ของจระเข้พันธุ์น้ำจืด การศึกษารูปแบบที่เกิดจากการทำ NOR's banding ทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า secondary constriction ของโครโมโซมอะโครเซนตริคเท่านั้นที่ติดสีเข้ม ซึ่งพบได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย โดยเฮพาะจระเข้าพันธุ์น้ำจืดตำแหน่งนี้อยู่บนโครโมโซมอะโครเซนตริคที่มีอยู่คู่เดียว ส่วนจระเข้น้ำเค็มอยู่บนโครโมโซมอะโครเซนตริคคู่ที่ 4