Abstract:
ได้ทำการศึกษาคาริโอไทป์ของปลาน้ำจืดไทยรวม 7 ชนิด โดยใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเซลล์จากลำตัวส่วนหางของปลา (cell culture of caudal trunk) และย้อมโครโมโซมด้วยสี Giemsa ด้วยวิธีการนี้ทำให้ได้เซลล์ในระยะเมตาเฟสที่มีการกระจายตัวของโครโมโซมที่ชัดเจนดี จำนวนและรูปร่างของโครโมโซมของปลาน้ำจืดไทย 7 ชนิด เป็นดังนี้ 1. ปลากระสง (Ophicepha iucius) 2n=88 ประกอบด้วยโครโมโซมแบบ metacentric 1 คู่แบะแบบ acrocentric อีก 43 คู่ 2. ปลายี่สก (Labeo rohota) 2n=50 ประกอบด้วยโครโมโซมแบบ metacentric/submetacentric 15 คู่ และ acrocentric อีก 10 คู่ 3. ปลาไน (cyprinus carpio) 2n=100 ประกอบด้วยโครโมโซมทั้งแบบ metacentric, submetacentric และ acrocentric ที่ไม่อาจจัดแยกแบบของโครโมโวมได้ถูกต้องแน่นอน 4. ปลาหมอไทย (Anabas testudineus) 2n=46 ประกอบด้วยโครโมโซมแบบ submetacentric 4 คู่ นอกนั้นเป็น acrocentric 19 คู่ 5. ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis) 2n=46 ประกอบด้วยโครโมโซมแบบ submetacentric 4 คู่ นอกนั้นเป็น acrocentric 19 คู่ 5. ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis) 2n=46 ประกอบด้วยโครโมโซมแบบ acrocentric แบบเดียวกันทั้งหมด 23 คู่ 6. ปลาตะเพียนขาว (Puntius goniotus) 2N=50 ) ประกอบด้วยโครโมโซมแบบ metacentric/subcentric 15 คู่ และ acrocentric 10 คู่ 7. ปลาดุกอุย (Clarias macrocephalus) 2n=54 ประกอบด้วยโครโมโซมแบบ metacentric/submetacentric 18 คู่ และ acrocentric 9 คู่