DSpace Repository

คอนแชร์โตสำหรับทรอมโบนกับวงเครื่องลมทองเหลือง

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีรชาติ เปรมานนท์
dc.contributor.author พิสิฐ พิริยะภรณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-11-28T08:47:20Z
dc.date.available 2012-11-28T08:47:20Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741750021
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26624
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en
dc.description.abstract บทเพลงประเภท ดนตรีบริสุทธิ์ในรูปแบบการประชันนั้น นับเป็นบทเพลงที่มีคุณค่ายิ่งในวงการดนตรี ในแง่ของการนำเสนอเทคนิคการบรรเลงชั้นสูง การถ่ายทอดสำเนียงอันไพเราะและการสร้างสรรค์งานทางด้านศิลปะดนตรี ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น ซึ่งนับเป็นคุณูปการต่อนักดนตรีเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเสมือนแบบเรียนชั้นเยี่ยมที่นักดนตรีแต่ละคนจะได้เพียรพยายาม ฝึกฝนเทคนิคการบรรเลงจากบทเพลงประเภทนี้ สิ่งสำคัญของการประพันธ์เพลงบทนี้ คือต้องการนำเสนอถึงวิธีการประพันธ์ในรูปแบบที่ผสมผสานเข้ากับเทคนิคการประพันธ์ในแบบศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะเด่น คือ การนำเอาเทคนิคในการเป่าทรอมโบนในแบบต่างๆมาเรียบเรียงไว้ในบทเพลงอย่างกลมกลืน ผู้บรรเลงสามารถฝึกฝนเทคนิคต่างๆไปได้พร้อมกันในขณะบรรเลงบทเพลง มุ่งเน้นการสอดประสานระหว่างบทบาทของเครื่องดนตรีเอกและวงเครื่องลมทองเหลืองเป็นสำคัญ ความโดดเด่นทั้งหมดนี้จะทำให้นักดนตรีที่บรรเลงบทประพันธ์นี้ได้รับประโยชน์ในการพัฒนาทักษะฝีมือในการบรรเลง และผู้ฟังก็จะได้รับฟังความแปลกใหม่ที่น่าสนใจ จากโครงสร่างและการผสมผสานเทคนิคต่างๆจากบทประพันธ์เพลงนี้ บทประพันธ์เพลง “คอนแชร์โตสำหรับทรอมโบนกับวงเครื่องลมทองเหลือง” บทนี้ประกอบด้วยโครงสร้างใหญ่จำนวน 3 ท่อน สังคีตลักษณ์ที่ใช้ในบทประพันธ์คือ สังคีตลักษณ์โซนาตา สังคีตลักษณ์ 3 ตอน และ สังคีตลักษณ์รอนโด ตามลำดับ มีความยาวประมาณ 17 นาที มีลักษณะโดยรวมเป็นบทประพันธ์สำหรับวงเครื่องลมทองเหลือง มีเครื่องดนตรีทรอมโบนเป็นเครื่องดนตรีเอก องค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในบทประพันธ์เพลง ได้แก่ การเลือกใช้กลุ่มโน้ตจากบันไดเสียงหลายกลุ่ม เช่น บันไดเสียงเพนทาโทนิก บันไดเสียงโฮลโทน บันไดเสียงอ็อกตาโทนิก เป็นต้น รวมถึงเทคนิคต่างๆที่สามารถบรรเลงได้เฉพาะในกลุ่มเครื่องเป่าลมทองเหลืองเท่านั้น มาใช้ในการประพันธ์
dc.description.abstractalternative The kind of Absolute music in the Concerto regarded as the precious Music Compositions in the term of advanced music skill presentation. The wonderful expression and creation arts in musical instruments are advantages towards the soloists because it is considered the best lesson of them in order to practice their skills from this composition. The most important thing of the compositions is to display towards how to compose the harmony style into the technical composition in 20th century composing style. Its outstanding creation is using various trombone techniques to arrange in the music. The soloists are able to practice their skills together during solo the composition, which focus on supporting between the roles of major musical instrument and the brass ensemble. Not only it makes the soloists gain the benefits to develop their skills in concerto, but also the audiences listen to the interesting creation from the structure as well as mixing the techniques in the composition. The music composition "Concerto for Trombone and Brass Ensemble" consists of the main structure 3 movements: The Sonata form, Ternary form and rondo form are used. The performance duration about 17 minutes. The whole composition concludes trombone, the major musical instrument. The significant element to compose such as selecting note scales; Pentatonic scale, Whole-tone scale, and Octatonic scale including several technics which can solo only brass instruments to use in the composition instruments.
dc.format.extent 2167839 bytes
dc.format.extent 1224148 bytes
dc.format.extent 58525651 bytes
dc.format.extent 343903 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title คอนแชร์โตสำหรับทรอมโบนกับวงเครื่องลมทองเหลือง en
dc.title.alternative Concerto for trombone and brass ensemble en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline การประพันธ์เพลง es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record