Abstract:
โครงการขุดคลองเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ณ บริเวณคอคอดกระ จ.ชุมพร ได้รับการศึกษาวิเคราะห์มาเป็นเวลานานกว่า 300 ปี แต่ยังมิได้มีข้อสรุปที่ชัดเจน เนื่องจากปัญหา ความไม่แน่นอนของผลกระทบที่การขุดคลองดังกล่าวอาจมีต่อประเทศไทยในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในปี 2545 รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เสนอโครงการขุดคลองเส้นใหม่ชื่อ คลองไทย ตาม แนว 9A ตัดผ่าน จังหวัดกระบี่ ตรัง พัทลุง และนครศรีธรรมราช โครงการขุดคลองไทยกระตุ้นให้นักวิชา การแขนงต่างๆ กลับมาให้ความสนใจต่อผลดีและผลเสียของการขุดคลองเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกและ มหาสมุทรอินเดียอีกครั้ง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ วิเคราะห์และคาดคะเนผลกระทบของการขุดคลองไทยต่อภาค อุตสาหกรรมและการโยกย้ายแรงงานใน4 จังหวัดภาคใต้รอบแนวคลอง ผลการศึกษาจากตารางปัจจัยการผลิต-ผลผลิต (ขนาด 26 คูณ26) แสดงให้เห็นว่า การขุดคลองไทย จะก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจใน 4 จังหวัดดังกล่าวทั้งในภาคอุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมหนัก สำหรับอุตสาหกรรมเบาที่ควรให้การส่งเสริม ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นปัจจัยหลักในการผลิต อาทิเช่น อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร ส่วนอุตสาหกรรมหนักที่ควรให้การส่งเสริม คือ อุตสาหกรรมอาศัยวัตถุดิบที่ได้รับการขนส่งผ่านคลองไทย อาทิเช่น น้ำมันดิบ ดังนั้น อุตสาหกรรมการกลั่น น้ำมันจึงควรได้รับการส่งเสริมในภาคนี้ การคำนวณจุดคุ้มทุนทางเศรษฐกิจจากผลตอบแทนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม รวมไปถึงค่าผ่านคลอง แสดงให้เห็นว่าโครงการขุดคลองไทย จะคืนกำไรในปีที่ 49นับจากปีเริ่มขุดคลอง แทนที่จะเป็นปีที่ 58 ดังที่เคยมีการศึกษาคำนวณจุดคุ้มทุนทางด้านการเงิน ซึ่งมิได้รวมผลตอบแทนการผลิตของ ภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ถึงแม้ว่า เขตเศรษฐกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังการขุดคลองจะก่อให้เกิด ความต้องการแรงงานในท้องถิ่นมากขึ้น ค่าความยืดหยุ่นของการโยกย้ายแรงงานภายในจังหวัดกระบี่ ตรัง พัทลุง และนครศรีธรรมราช ระหว่างปี 2538 - 2544 ชี้ให้เห็นว่า แรงงานที่จะเพิ่มขึ้นเพื่อสนองต่อการเติบโต ทางด้านอุตสาหกรรม มีแนวโน้มที่จะมาจากการโยกย้ายแรงงานจากต่างจังหวัดหรือภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ แทนที่จะเป็นการโยกย้าย