DSpace Repository

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 กับความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการสมยอมในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐและการกีดกันการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีระพงษ์ บุญโญภาส
dc.contributor.author รสิตา บุญวิสูตร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-11-29T09:14:11Z
dc.date.available 2012-11-29T09:14:11Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9741766106
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26980
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en
dc.description.abstract ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการสมยอมในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐและการกีดกันการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐนั้นจัดเป็นปัญหาที่สำคัญมากปัญหาหนึ่งของประเทศ ด้วยเหตุที่การกระทำความผิดดังกล่าวก่อให้เกิดรายได้แก่ผู้กระทำความผิดเป็นจำนวนมหาศาล จึงทำให้มีจำนวนผู้กระทำความผิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นองค์กรอาชญากรรมทั้งในประเทศและระดับข้ามชาติ ภาครัฐจึงได้แก้ปัญหาดังกล่าวโดยการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และตราพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 แต่กฎหมายดังกล่าวก็ยังมีปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้ จึงเป็นเหตุให้ผู้กระทำความผิดสามารถนำรายได้จำนวนมหาศาลจากการกระทำความผิดดังกล่าวนั้นไปทำการฟอกเงินเพื่อนำกลับมาใช้เป็นทุนในการกระทำความผิดต่อไป จนก่อให้เกิดเป็นวงจรการประกอบอาชญากรรมที่ยากต่อการจับกุมและปราบปราม ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นต้องหามาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการสมยอมในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐและการกีดกันการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐมาใช้บังคับ ซึ่งได้แก่ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เนื่องมาจากกฎหมายดังกล่าวมีบทลงโทษทางอาญาที่รุนแรงและมีมาตรการดำเนินการกับทรัพย์สินในทางแพ่งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้สามารถลดจำนวนผู้กระทำความผิดลงได้รวมทั้งยับยั้งการฟอกเงินจากการกระทำความผิดได้ดียี่งขึ้น ดังนั้นจึงควรกำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการสมยอมในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐและการกีดกันการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ เป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เพื่อนำมาตรการทางกฎหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้ในการแก้ปัญหาการสมยอมในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐและการกีดกันการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมต่อไป
dc.description.abstractalternative Problems and consequences resulted from misconduct against government agency price bidding and the obstructiveness of fair competition according to the Act on the offences related to government agency price bidding is one of the country’s most significant problems. Since this crime generates a large amount of income for the offenders, the number of offenders has greatly increased. Eventually, it becomes domestic organized crime and transnational organized crime. Thus, the government attempted to solve the problem by revising Rule of the Office of Minister on Supply B.E. 2535 and launching the Act on Misconducts against Government Agency price Bidding B.E. 2542. However, there are some impediments to enforce this law. As a result, offenders are still able to launder such the income and use it as the capital to commit other crimes, causing the criminal circle, which is difficult to arrest and eradicate. Consequently, the effective legal measure to prevent and suppress misconduct against government agency price bidding and the obstructiveness of fair competition according to the Act on the offences related to government agency price bidding is indispensable. The outstanding legal measure is the Anti-Money Laundering Act B.E. 2542. As this law provides rigorous criminal sanction and effective civil forfeiture measure, it is expected that the number of offenders will be diminished and money laundering will restrained. Therefore, it is necessary to set the misconduct against government agency price bidding and the obstructiveness of fair competition according to the Act on the offences related to government agency price bidding, as one of the predicate offences in the Anti-Money Laundering Act B.E. 2542, in order that the law can be used to solve the problem.
dc.format.extent 4230634 bytes
dc.format.extent 4216792 bytes
dc.format.extent 13687388 bytes
dc.format.extent 35988598 bytes
dc.format.extent 31187251 bytes
dc.format.extent 6696923 bytes
dc.format.extent 8087115 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 กับความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการสมยอมในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐและการกีดกันการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ en
dc.title.alternative Anti-money Laundering Act B.E.2542 and the predicate offences relating to misconducts against government agency price bidding and the obstructiveness of fair competition according to the act on the offences related to government agency price bidding en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record