Abstract:
งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งเน้นศึกษาการเลื่อนชั้นทางสังคมของบุคคลในสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2325-2394) โดยเน้นศึกษาการเลื่อนชั้นทางสังคมในระบบราชการซึ่งเป็นวิถีทางที่บุคคลจะได้เลื่อนชั้นทางสังคมมากที่สุด ทั้งนี้โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 5 บท นอกเหนือจากบทนำซึ่งกล่าวถึงแนวความคิดเบื้องต้นทางด้านสังคมวิทยาเกี่ยวกับการเลื่อนชั้นทางสังคมแล้ว ได้แก่บทที่ 1 ว่าด้วยการจัดช่วงชั้นทางสังคมของสังคมไทย ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้น และแนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการเลื่อนชนชั้นทางสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น บทที 2 เกี่ยวกับสภาพทั่วไปของบ้านเมืองที่ส่งผลต่อสถานการณ์ในการเลื่อนชั้นทางสังคม บทนำและสองบทแรกนี้เป็นพื้นฐานและแนวทางสำหรับการศึกษาการเลื่อนชั้นทางสังคมในสถานการณ์ต่างๆของบ้านเมืองซึ่งเป็นเกณฑ์และขอบเขตในการศึกษาการเลื่อนทางสังคมในงานวิจัยนี้ คือ ในสถานการณ์เมื่อพระมหากษัตริย์ขึ้นครองราชย์ ในสถานการณ์บ้านเมืองปกติ และในสถานการณ์บ้านเมืองไม่ปกติ ในบทที่ 3 และบทที่ 4 และบทที่ 5 ตามลำดับ ทั้งนี้สามบทหลังนี่จะพิจารณาถึงประเภทของบุคคลท่ได้เลื่อนชั้นทางสังคมในแต่ละสถานการณ์ สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลื่อนชั้นทางสังคม แบบและลักษณะของการเลื่อนชั้นทางสังคม ตลอดจนผลต่อสังคมไทยโดยส่วนรวมผลการศึกษาพบว่า การจัดช่วงชั้นทางสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นแบ่งบุคคลออกเป็นสองชนชั้นใหญ่ คือ ชนชั้นผู้ปกครองซึ่งได้แก่ ไพร่ กับทาส นอกจาก นี้ยังมีกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะพิเศษไปจากสองชนชั้นดังกล่าว ได้แก่บุคคลนอกระบบไพร่คือชาวจีน กับชาวตะวันตกประเภทหนึ่ง และสมณชีพราหมณ์อีกประเภทหนึ่ง ปรากฏว่าบุคคลที่ได้เลื่อนชั้นทางสังคมเป็นจำนวนมากในทุกสถานการณ์ คือ กลุ่มเจ้า และขุนนางเช่นเดียวกับพระสงฆ์ซึ่งแม้จะมีจำนวนผู้ได้เลื่อนชั้นทางสังคมไม่มากเท่าบุคคลสองกลุ่มแรกแต่ก็เป็นพวกที่ได้เลื่อนชั้นทางสังคมในทุกสถานการณ์ ส่วนไพร่เพิ่งปรากฏการเลื่อนชั้นทางสังคมอย่างชัดเจนในภาวะบ้านเมืองปกติ เช่นเดียวกับบุคคลนอกระบบไพร่ทั้งชาวจีนและชาวตะวันตก สำหรับทาสนั้น ไม่ปรากฏการเลื่อนชั้นทางสังคมให้เห็นเป็นตัวบุคคลทั้งๆที่กฎหมายเปิดโอกาสให้มีการเลื่อนชั้นทางสังคมได้ นอกจากนี้เจ้าและขุนนางเมืองประเทศราชได้เลื่อนชั้นทางสังคมเป็นจำนวนมากในสถานการณ์บ้านเมืองมาปกติอันเกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองภายนอก สำหรับสตรีนั้นปรากฏว่าการเลื่อนชั้นทางสังคมมีบ้าง แต่น้อยกว่าบุรุษมาก การเลื่อนชั้นทางสังคมมีทั้งการเลื่อนขึ้นซึ่งเป็นการเลื่อนข้นแบบปกติกับการเลื่อนขึ้นแบบข้ามขั้น และการเลื่อนลง ซึ่งได้แก่การถูกถอดออกจากบรรดาศักดิ์ และตำแหน่งลงเป็นไพร่ ถูกจำคุกหรือประหารชีวิต การเลื่อนขึ้นและการเลื่อนลงนี้ส่งผลกระทบต่อครอบครัวและเครือญาติด้วย ปรากฎว่าการเลื่อนชั้นทางสังคมในแนวตั้งและเป็นการเลื่อนขึ้นมากกว่าเลื่อนลง นอกจากนี้มีบุคคลจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มขุนนางได้เลื่อนชั้นทางสังคมในทางขึ้นและลงภายในชั่วอายุของตนหลายครั้ง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเลื่อนชั้นทางสังคมระหว่างชั่วอายุของบุคคลกับบิดาแล้ว เท่าที่พบ ขุนนางกลุ่มนี้ได้เลื่อนขั้นทัดเทียมกับบิดา สำหรับการจะเลื่อนข้นหรือลงในลักษณะอย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยต่างๆทั้งภายนอกและภายในประกอบกัน ผลจากการศึกษาเรื่องนี้ทำให้ได้ข้อสรุปว่าการเลื่อนชั้นทางสังคม ในลักษณะดังกล่าวส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคมเปิดที่บุคคลกลุ่มและประเภทต่างๆ คือชนชั้นผู้ปกครองและถูกปกครองซึ่งอยู่ในระบบไพร่ บุคคลนอกระบบไพร่ สมณชีพราหมณ์ ตลอดจนสตรีได้มีโอกาสเลื่อนชั้นทางสังคมแม้ว่าโอกาสของชนชั้นผู้ปกครองจะมีมากกว่าก็ตาม