dc.contributor.author |
จันทรา บูรณฤกษ์ |
|
dc.contributor.author |
ปิยนาถ บุนนาค |
|
dc.contributor.other |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาประวัติศาสตร์ |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย |
|
dc.coverage.spatial |
สหรัฐอเมริกา |
|
dc.date.accessioned |
2006-09-23T05:12:13Z |
|
dc.date.available |
2006-09-23T05:12:13Z |
|
dc.date.issued |
2521 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2756 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาผลกระทบทางการเมืองจากความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2463 - พ.ศ. 2506) วัตถุประสงค์ในการวิจัยเรื่องนี้ คือเพื่อศึกษาจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา การเมืองระหว่างประเทศซึ่งสหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือประเทศไทยแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคเกี่ยวกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในปี พ.ศ. 2463 และตั้งแต่นั้นมาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองได้วิวัฒนาการมาเป็นขั้น ๆ โดยแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อสภาพทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการดังกล่าว ผู้วิจัยได้แบ่งการวิจัยออกเป็น 6 บท ดังนี้คือ บทนำกล่าวถึงที่มาของปัญหา, วัตถุประสงค์ของการวิจัย, วิธีการค้นคว้าวิจัย, ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย บทที่ 1 คือ ช่วงเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2463 ถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นช่วงแห่งการสร้างความสัมพันธ์ทีดี เป็นช่วงที่มีการแก้ไขสนธิสัญญาความไม่เสมอภาคเกี่ยวกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ซึ่งที่ปรึกษาชาวอเมริกันได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือแก้ไขสนธิสัญญาดังกล่าว บทที่ 2 คือช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองเป็นช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาเป็นไปอย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จนเป็นผลทำให้ดำเนินนโยบายโน้มเอียงเข้าสหรัฐอเมริกาอย่างเด่นชัดหลังสงครามสิ้นสุดลง การดำเนินนโยบายของไทยและของสหรัฐอเมริกาและท่าทีที่มีต่อกันในระหว่างสงครามโลกเป็นสภาพการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และเป็นช่วงเวลาสำคัญมากในประวัติความเป็นเอกราชและบูรณภาพของประเทศไทยเพื่อก้าวออกไปสู่การยอมรับนานาชาติในโลกเสรีอยางทัดเทียม บทที่ 3 คือ ช่วงความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นช่วงที่ไทยได้เปลี่ยนนโยบายการเป็นกลางมาเป็นนโยบายที่ฝักใฝ่ฝายตะวันตก ทั้งนี้เพราะไทยพยายามรักษาผลประโยชน์ของไทยให้มากที่สุด ไทยจึงเปิดศักราชยุคใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือยุคแห่งความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับโลกตะวันตก โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพื่อทำการสะกัดกั้นการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ บทที่ 4 คือช่วงความสัมพันธ์ไทยสหรัฐอเมริกาในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นช่วงแห่งความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศและประเทศใกล้เคียง จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พยายามที่จะดำเนินโยบายที่เป็นอิสระ โดยมิให้มหาอำนาจเข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองในประเทศไทย แต่ต่อมาเนื่องจากสภาพแวดล้อมบีบบังคับ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชน์จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนนโยบายกลับมาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐอเมริกา บทที่ 5 คือบทสรุปของความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกาตลอดระยะเวลา 43 ปีที่ผ่านมา |
en |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research is to analyze the impact of changing Thai - U.S. relation between 1920 - 1963 upon Thailand's political, military, economic, social and diplomatic policies and practices. The main interest of this research is to analyze critically the development of the relation from the starting points to the end of Marshal Sarit Thanarat era and to show the trends of the foreign relations of these two countries. In order to show the evolution of the Thai - U.S. relations, the researchers have divided the work into 6 different chapters according to each period as followed :- (1) - The introducing chapter describes the formation of the problems, purpose of the study, the scope, research processes and the data used in the research and the benefitial suggestions in doing research. Chapter 1 studies the starting point of the Thai - U.S. relations from 1920 to beginning of World War II. It is the period when Thailand was negotiating the unfair treaties on the extra territoriality of Siam. Chapter 2show the develops of closer relationship between Thai - U.S. relation during World War II. This has an impact on the Thai foreign relations leaning towards the western world especially towards the United States after World War II. Chapter 3 gives the description of the changing of Thai foreign policy from neutrality to the pro-western world especially towards U.S.A. This was due to the facts that Thailand wants to keep up with her national interest. Thus this was the new era of closer cooperations with the western worlds especially with the United States in order tocontain the communist interventions and penetrations. Chapter 4 shows the Thai - U.S. relation during Marshal Sarit Thanarat period. The relations during this period were not as smooth as previous periods due to the changing in the political environments of the world especially Thailand neibouring countries. Marshal Sarit Thanarat commenced his era in foreign policy with independence from foreign inter-ventions. But due to the political crisis inher neibouring countries and the fear of communist penetration into Thailand made the Premier to change his foreign policy into a closer relation with the U.S.A. Chapter 5 summerizes the Thai - U.S.relations during the past 43 years. |
en |
dc.description.sponsorship |
กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช |
en |
dc.format.extent |
175600585 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐอเมริกา |
en |
dc.subject |
ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา |
en |
dc.subject |
ไทย--ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ--สหรัฐอเมริกา |
en |
dc.subject |
ไทย--การเมืองและการปกครอง |
en |
dc.title |
การศึกษาผลกระทบทางการเมืองจากความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2463-2506) : รายงานผลการวิจัย |
en |
dc.title.alternative |
The study of political impact from Thailand diplomatic relations with the United States of America (1920-1963) |
en |
dc.type |
Technical Report |
en |
dc.email.author |
Piyanart.B@Chula.ac.th |
|