DSpace Repository

แบบจำลองสำหรับศึกษาการใช้ภาษีคารบอนเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor จาริต ติงศภัทิย์
dc.contributor.author รับพร มิมะพันธุ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2012-12-29T16:57:40Z
dc.date.available 2012-12-29T16:57:40Z
dc.date.issued 2539
dc.identifier.isbn 9746333046
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28231
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 en
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองสำหรับศึกษาการใช้ภาษีคาร์บอนเพื่อควบคุม การปล่อยก๊าซคาร์บอนไคออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกหลักในประเทศไทยและวิเคราะห์ผลกระทบของ การใช้ภาษีคาร์บอนต่อระบบเศรษฐกิจ แบบจำลองนี้เป็นแบบจำลองที่สังเคราะห์วิธีการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์และทางวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากทุกสาขาเศรษฐกิจของประเทศไทยพร้อมๆ กันโดยศึกษาในกรณีที่มีและไม่มีการใช้ภาษีคาร์บอน การศึกษาใช้แบบจำลองดุลยภาพบางส่วนที่ประกอบด้วยราคาเชื้อเพลิงฟอสซิล 8 ชนิด การผลิต 30 สาขา ในรูปของตารางปัจจัยการผลิต-ผลผลิต และการใช้จ่ายของผู้บริโภค 12 ชนิดที่วิเคราะห์ด้วยระบบอุปสงค์ Almost Ideal Demand System และกำหนดรูปแบบการกระจายจากค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค 12 รายการไปเป็นการบริโภคของเอกชน 30 สาขา ภาษีคาร์บอนกำหนด โดยการเพิ่มราคาเชื้อเพลิงในอัตราส่วนเดียวกัน แบบจำลองมีปี พ.ศ. 2533 เป็นปีฐาน ประมวลผลด้วยโปรแกรม GAMS เพื่อหาผลของภาษีคาร์บอนต่ออุปสงค์ขั้นสุดท้ายและผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ภายใต้ ขอสมมติว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเทคนิคการผลิต สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงแต่ละชนิดในแต่ละสาขาเศรษฐกิจ คงที่ อุปทานในระบบเศรษฐกิจมิไม่จำกัด และค่าใช้จ่ายของ ผู้บริโภคกำหนดให้คงที่โดยมีข้อสมมติว่ารายรับของ ภาษีเป็นกลาง ภาระภาษีเท่าเดิมและทำให้มูลค่ารวมของการบริโภคไม่เปลี่ยนแปลง ภายใต้ข้อสมมุติเรื่องแนวโน้มการจำเริญเติบโตของค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคในปี พ.ศ. 2543 อัตราภาษีคาร์บอนที่จะควบคุมปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ใน พ.ศ. 2543 ให้เท่ากับที่มีในปีฐานคือร้อยละ 30 ของ ราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลในปีฐาน รายได้จากภาษีคาร์บอนที่เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 4.33 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศหรือร้อยละ 5.3 ของค่าใช้จ่ายในการบริโภค สัดส่วนรายการค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคในสินค้า อาหาร การขนส่ง และนันทนาการลดลงไปไม่เกินร้อยละ 11 สาขาเศรษฐกิจที่มีสัดส่วนการบริโภคเพิ่มขึ้น คือ เหมืองแร่ เครื่องดื่ม ยาสูบ สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ น้ำมันปีโตรเลียมกลั่น ไฟฟ้า ก๊าซ ประปา ก่อสร้าง การค้า บริการ ของรัฐ ขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเพิ่มเพียงเล็กน้อย โดยสาขาเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลง ลดลงในช่วงไม่เกินร้อยละ 10 และบางสาขามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือ สาขาน้ำมันปีโตรเลียมดิบ ถ่านหิน เครื่องคม ยาสูบ สิ่งทอ กระดาษ เคมีภัณฑ์ ปูนซีเมนต์ ไฟฟ้า ก๊าซ ประปา ก่อสร้าง การค้าบริการของรัฐ
dc.description.abstractalternative The objective of the thesis is to develop a model for studying the use of carbon taxation for controlling the emission of carbondioxide, a major component of greenhouse gases, in Thailand and to analyze the impact of using the carbon tax on the economy. This study uses a model that synthesises environmental science and economic approaches to analyze simultaneously carbondioxide emission from every economics sectors of Thailand, with and without carbon taxation. The study uses a partial-equilibrium model containing 8 fossil fuels, 30 production sectors in an input-output framework and 12 consumer expenditure sectors in the framework of the Almost Ideal Demand System which is converted to private consumption with 30 sectors. The carbon tax is imposed by increasing the prices of fuels by a uniform percentage. The model is calibrated to the 1990 baseyear. The model is solved by using the GAMS programme to simulate the effect of the carbon tax on final demand and gross 'domestic product (GDP) subject to some assumptions of fixed productive technology, infinite supply elasticity and constant consumer expenditure due to revenue neutrality of the carbon tax neutral tax revenue. Assuming a trend rate of growth for consumer expenditure to the year 2000, the carbon tax rate that will control the amount of carbondioxide emission in year 2000 to equal that in the baseyear is about 30 percent of the baseyear fossil fuel prices. The carbon tax revenue is about 4.33 percent of GDP or 5.3 percent of consumer expenditure. The shares in consumer expenditure of food, transport and entertainment decrease less than 11 percent. Sectors which increase their shares in consumer expenditure are mining, beverage, textiles, chemical, refined petroleum, electricity gas and water, construction, commercial, public service. GDP increases a little with most sectors decreasing by less than 10 percent. Sectors which increase their shares are crude oil coal, beverage, textiles, paper, chemical, cement, electricity gas and water, construction, commercial and public service.
dc.format.extent 3144827 bytes
dc.format.extent 4926913 bytes
dc.format.extent 9883961 bytes
dc.format.extent 7991141 bytes
dc.format.extent 4248544 bytes
dc.format.extent 1126840 bytes
dc.format.extent 11983010 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title แบบจำลองสำหรับศึกษาการใช้ภาษีคารบอนเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย en
dc.title.alternative A model for studying the use of carbon taxation for controlling greenhouse gas emission in Thailand en
dc.type Thesis es
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record