Abstract:
วัตถุประสงค์: เพื่อออกแบบและพัฒนาไม้เท้าเลเซอร์และมีเสียง metronome เป็นอุปกรณ์ช่วยเดิน และเพื่อศึกษาผลของการกระตุ้นด้วยแสง เสียง และร่วมกันระหว่างแสงกับเสียงต่อการเดินใน ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีการเดินติดขัด ระเบียบวิธีวิจัย: ไม้เท้าช่วยเดินได้รับการพัฒนาและทดสอบใน 4 รูปแบของการกระตุ้น คือ แสง เลเซอร์ เสียงจาก metronome แสงร่วมกับเสียง และไม่มีสิ่งกระตุ้น ศึกษาในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จำนวน 38 ราย มี Hoehn & Yahr อยู่ในช่วง 2-3 เข้ารับการทดสอบแบบสุ่มใน 4 กรณี ทั้งในช่วงยา หมดฤทธิ์และในช่วงยาออกฤทธิ์โดยเดินรอบละ 5 เมตร กรณีละ 2 รอบ เก็บข้อมูลโดยการบันทึกภาพรอยเท้าและบันทึกภาพด้วยกล้องวิดีโอ เพื่อศึกษาผลของจำนวนก้าวติดขัด เวลาของก้าว ติดขัด ระยะก้าว ความเร็วและจังหวะในการเดิน ผลการวิจัย: ผลการศึกษาการกระตุ้นด้วยแสงในผู้ป่วย 30 ราย พบว่าการกระตุ้นด้วยแสงมีผลต่อการ ลดลงของจำนวนก้าวติดขัดและเวลาของก้าวติดขัดในช่วงยาหมดฤทธิ์ 2.87±5.82 ก้าว (p<0.002), 1.04±0.80 วินาที (p<0.0001) ตามลา ดับ ช่วยเพิ่มระยะก้าวและความเร็วการเดิน 25.03±18.12 ซ.ม. (p<0.0001), 8.86±10.45 ซ.ม./วินาที (p<0.0001) ตามลา ดับ ส่วนผลของการกระตุ้นด้วยเสียง และ การกระตุ้นด้วยแสงร่วมกับแสง ไม่พบการลดลงของจำนวนก้าวติดขัดและระยะเวลาของก้าวติดขัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับไม้เท้าทั่วไป เมื่อวิเคราะห์แบ่งกลุ่มผู้ป่วยตามระดับ ความรุนแรงของโรคของกลุ่มทดสอบการกระตุ้นด้วยแสง พบว่าผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของ โรคมาก (H&Y>2) เดินได้ดีกว่ากลุ่มที่มีระดับความรุนแรงของโรคน้อย (H&Y=2) ตามผลการลดลงของจำนวนก้าวติดขัดและเวลาของก้าวติดขัดในช่วงยาหมดฤทธิ์7.46±7.52 ก้าว (p<0.004), 1.49±0.94 วินาที (p<0.0001) ตามลา ดับ นอกจากนี้พบว่าระยะก้าวและความเร็วในการเดินของ ผู้ป่วยกลุ่มที่มีระดับความรุนแรงของโรคมากเพิ่มขึ้น 34.92±21.49 เซนติเมตร (p<0.0003), 13.15±9.60 ซ.ม./วินาที (p<0.0001) ตามลำดับ ด้วยเช่นกัน สรุปผลการศึกษา: ในการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าไม้เท้าที่มีแสงเลเซอร์เป็นสิ่งกระตุ้นช่วยให้ จำนวนก้าวติดขัดและเวลาของก้าวติดขัดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกันกับช่วยให้ ระยะก้าว ความเร็วและจังหวะในการเดินดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงยาหมดฤทธิ์ผลของการเดิน ที่ดีขึ้นนี้เห็นได้ชัดเจนในผู้ป่วยกลุ่มที่มีระดับความรุนแรงของโรคมาก (H&Y>2) อุปกรณ์ช่วยเหลือ โดยมีสิ่งกระตุ้นทางสายตาประกอบเข้าไปด้วยนั้น น่าจะได้รับการพิจารณาให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ใช้ร่วมในการบำบัดเพื่อช่วยลดการเดินติดขัดในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ในอนาคตควรศึกษา เพิ่มเติมในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจำนวนมากขึ้น เช่นเดียวกันกับไม้เท้าที่มีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย เพื่อใช้ในการศึกษาเวลาของก้าวติดขัด และควรเพิ่มความเข้มของแสงเลเซอร์ให้มากยิ่งขึ้น