Abstract:
จุดประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาถึงกลไกการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของเหลวภายในร่างกายโคนมสัมพันธ์กับการสร้างน้ำนมและส่วนประกอบของน้ำนม การใช้สารอาหารหลักจากพลาสม่าเพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบน้ำนมโดยต่อมน้ำนมในโคนมที่มีการจัดการสภาวะแวดล้อมในการเลี้ยงภายในโรงเรือนปิดที่มีการจัดการลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยแบ่งกลุ่มโคนมลูกผสมที่มีสายพันธุ์ Holstein Friesian 87.5% ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจานวนสัตว์ 6 ตัวจะถูกเลี้ยงในโรงเรือนธรรมดา กลุ่มที่สองจานวนสัตว์ 6 ตัวจะถูกเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนด้วยวิธีการระเหยของน้ำ (Evaporative cooling system) กลุ่มสัตว์ที่เลี้ยงภายในโรงเรือนทั้ง 2 แบบจะให้กินอาหารผสมTMRตลอดระยะการวิจัยในระยะต้น(Early Lactation) ระยะกลาง(Mid Lactation) และระยะท้าย (Late Lactation) ของการให้นม จากผลของการศึกษา ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิแวดล้อมภายในโรงเรือนเปิดอุณหภูมิกระเปราะแห้ง (Dry bulb temperature)33ºซ ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative humidity) 61% และโรงเรือนปิดอุณหภูมิกระเปราะแห้งมีค่าเฉลี่ย 28ºซ ความชื้นสัมพัทธ์ 84% การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิร่างกาย อัตราการหายใจ ค่าTHIของกลุ่มโคนมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดจะมีค่าสูงกว่าของกลุ่มโคนมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โคนมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิด จะกินอาหารแห้งต่อวันมากกว่ากลุ่มโคที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิด อัตราการกินน้ำต่อวันในกลุ่มโคนมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดจะเพิ่มมากกว่ากลุ่มโคนมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิด (P<0.05)ทั้งในระยะต้น ระยะกลางและระยะท้าย ของการให้นม ค่าน้ำหนักตัวระหว่างกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดและกลุ่มที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิด มีค่าไม่แตกต่างกัน ค่าเฉลี่ยของปริมาตรเลือด(blood volume) และปริมาตรพลาสม่า (plasma volume) ต่อตัวสัตว์ในกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนปิดมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดทั้งในระยะต้น ระยะกลางและระยะท้ายของการให้นมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยต่อน้ำหนักตัวในกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนปิดมีแนวโน้มสูงกว่ากลุ่มที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดแต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่นและค่าออสโมลาลิตี้ในพล่าสมาระหว่างโคนมทั้ง2กลุ่มไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในระยะต้น ระยะกลางและระยะท้ายของการให้นม ปริมาตรของน้ำทั้งหมดภายในร่างกาย(total body water) ในกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนปิดมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดทั้งในระยะต้น ระยะกลางและระยะท้ายของการให้นมแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาตรของน้ำนอกเซลล์ (Extra cellular fluid) ในกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนปิดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดทั้งในระยะกลางของการให้นม(P<0.01) และระยะท้ายของการให้นม แต่ค่าเฉลี่ยเฉลี่ยของปริมาตรของน้ำนอกเซลล์ ต่อ 100 กิโลกรัมน้ำหนักตัวระหว่างโคนมทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในระยะกลาง และระยะท้ายของการให้นม ส่วนปริมาตรของเหลวภายในเซลล์ (Intracellular fluid)โดยค่าเฉลี่ยต่อตัวสัตว์หรือต่อ 100 กิโลกรัมของกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนปิดมีแนวโน้มค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดทั้งในระยะกลาง และระยะท้ายของการให้นม แต่ค่า ความแตกต่างกันไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ การเลี้ยงโคนมภายในโรงเรือนปิดหรือภายในโรงเรือนเปิด จะไม่มีผลต่อระดับความเข้มข้นในพลาสม่าของโซเดียมไอออน (Na+), โพแทสเซียมไอออน (K+) และคลอไรด์ไอออน(Cl-)ทั้งในระยะต้น ระยะกลางและระยะท้ายของการให้นม อัตราการหลั่งน้ำนมในกลุ่มโคนมลูกผสมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิดจะมากกว่าประมาณ 45% เมื่อเทียบกับกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดทั้งในระยะกลางของการให้นม แต่ในระยะท้ายของการให้นม อัตราการหลั่งน้ำนม จะลดลงจากระยะกลาง ทั้ง2 กลุ่ม ส่วนประกอบน้ำนมเกี่ยวกับความเข้มข้นของไขมันนม ความเข้มข้นของโปรตีนในน้ำนม 3
และความเข้มข้นของแลคโตสในน้ำนมของกลุ่มโคนมทั้ง 2 กลุ่ม ที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิดและที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดจะมีค่าไม่แตกต่างกันทั้งในระยะกลางและระยะท้ายของการให้นม เปอร์เซ็นต์ของแข็งทั้งหมดในน้ำนมและเปอร์เซ็นต์ของแข็งไม่รวมไขมันนมมีค่าไม่เปลี่ยนแปลงของกลุ่มโคนมทั้ง 2กลุ่ม ในระยะกลางของการให้นม ไม่มีผลต่อระดับความเข้มข้นของ acetate ในเลือดแดง ค่าความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของเลือดแดง และ ดา(A-V) และสัดส่วนการใช้ acetate โดยต่อมน้ำนมไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มโคนมลูกผสมทั้ง 2 กลุ่ม แต่ในระยะท้ายของการให้นม ระดับความเข้มข้นของ acetate ในเลือดแดงยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างคงที่เทียบกับระยะกลางของการให้นม ค่าความแตกต่างระหว่างระหว่างความเข้มข้น (A-V) และสัดส่วนการใช้ acetate โดยต่อมน้ำนม ในระยะท้ายของการให้นมในกลุ่มโคนมที่ที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิด จะมีค่าเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิด ระดับความเข้มข้นของ ß-hydroxybutyrateในพลาสม่าเลือดแดง ค่าความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของเลือดแดงและดา(A-V)ของกลุ่มโคนมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิด มีค่าต่ากว่ากลุ่มโคนมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดและสัดส่วนการใช้ ß-hydroxybutyrate โดยต่อมน้ำนมของโคนมทั้ง 2 กลุ่ม มีค่าไม่แตกต่างกันทั้งในระยะกลางและระยะท้ายของการให้นม ระดับความเข้มข้นของกลูโคสในพลาสม่าเลือดแดง ค่าความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของเลือดแดงและดา(A-V)ไม่พบความแตกต่าง ระหว่างโคนมลูกผสมทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งในระยะกลางและระยะท้ายของการให้นม ระดับความเข้มข้นของ triacylglycerolในพลาสม่าเลือดแดง ค่าความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของเลือดแดงและดา(A-V) และสัดส่วนการใช้ triacylglycerolโดยต่อมน้ำนมในกลุ่มโคนมลูกผสมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิดและโรงเรือนเปิดไม่พบความแตกต่าง ระหว่างโคนมลูกผสมทั้ง 2 กลุ่ม ในระยะกลางของการให้นม แต่ระยะท้ายการให้นมระดับความเข้มข้นของ triacylglycerolในพลาสม่าเลือดแดง ค่าความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของเลือดแดงและดา(A-V)ในกลุ่มโคนมลูกผสมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนปิดจะมีค่าต่ากว่าโคนมลูกผสมที่เลี้ยงภายในโรงเรือนเปิด ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมน Triiodotyronine (T3),และ Insulin like growth factor-I ของโคนมที่เลี้ยงในโรงเรือนเปิดและโรงเรือนปิดไม่พบความแตกต่างทั้งในระยะกลาง และระยะท้าย ของการให้นม ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมน Cortisolและ Thyroxine (T4) มีค่าเฉลี่ยสูงในกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนเปิดมากกว่าในกลุ่มโคนมเลี้ยงภายในโรงเรือนปิดทั้งในระยะต้น ระยะกลาง และระยะท้ายของการให้นม ผลการศึกษาสรุปได้ว่าการเลี้ยงโคนมลูกผสม Holstein Friesian ภายในโรงเรือนปิด มีการตอบสนองของร่างกายต่อสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไปจะมีผลเพิ่มปริมาณการกินได้ ทาให้มีการเพิ่มผลผลิตน้ำนมอย่างชัดเจน แต่ไม่มีผลต่อองค์ประกอบของน้ำนม การตอบสนองของร่างกาย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของ ปริมาตรของเลือด ปริมาตรของน้ำนอกเซลล์ (Extra cellular fluid)ในการนำสารอาหารสู่ต่อมน้ำนม การลดการขับหลั่งน้ำนมในระยะท้ายของการให้นม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายในต่อมน้ำนม