dc.contributor.advisor |
อิศรา ศานติศาสน์ |
|
dc.contributor.author |
กรองแก้ว ณ ลำปาง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2013-03-14T11:55:32Z |
|
dc.date.available |
2013-03-14T11:55:32Z |
|
dc.date.issued |
2555 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29781 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
en |
dc.description.abstract |
การเรียกเก็บภาษีจากโรงเรียนกวดวิชาได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันการเรียนกวดวิชาเป็นที่นิยมของนักเรียน ทำให้โรงเรียนกวดวิชาได้รับรายได้สูง และมีโรงเรียนกวดวิชาใหม่ๆ เป็นจำนวนมาก แต่รายได้ที่โรงเรียนกวดวิชาได้รับนี้เป็นรายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี เนื่องจากความกังวลว่าภาระภาษีส่วนนี้จะถูกผลักไปให้นักเรียน แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการศึกษาถึงผลกระทบของภาษี และภาระภาษีว่าจะถูกผลักไปให้คนกลุ่มใด การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนกวดวิชา วิเคราะห์หาค่าความยืดหยุ่นต่อราคาของการเรียนกวดวิชา (Price elasticity of participation) วิเคราะห์ผลกระทบจากการเรียกเก็บภาษีที่มีต่อนักเรียนและวิเคราะห์ภาระภาษี โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจาก สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. วิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนกวดวิชา และค่าความยืดหยุ่นต่อราคาของการเรียนกวดวิชา โดยใช้แบบจำลองโลจิต ส่วนที่สองคือ การวิเคราะห์ผลกระทบของภาษีจากความยืดหยุ่นต่อราคาของการเรียนกวดวิชา และการวิเคราะห์ผลกระทบของภาษีโดยใช้ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer price index ส่วนสุดท้ายเป็นการวิเคราะห์ภาระภาษีที่เกิดขึ้นโดยใช้การวิเคราะห์ภาระภาษีแบบดุลยภาพบางส่วน
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนกวดวิชาของนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย ได้แก่ ราคาค่ากวดวิชา รายได้ครอบครัวต่อเดือน เกรดเฉลี่ยสะสม ประเภทโรงเรียนที่ศึกษา ระดับชั้นที่ศึกษา พื้นที่ที่พักอาศัย และภูมิภาคที่พักอาศัย จากผลของราคาที่มีอิทธิพลต่อการเรียนกวดวิชาเมื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากการเรียกภาษี พบว่าค่าความยืดหยุ่นของการเรียนกวดวิชาต่อราคาของนักเรียนทั่วประเทศเท่ากับ -0.5396 ซึ่งเป็นค่าความยืดหยุ่นที่ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นเมื่อศึกษาถึงภาระภาษีที่เกิดขึ้นจากการเรียกเก็บภาษีพบว่า ภาระภาษีที่เกิดขึ้นกับนักเรียนอยู่ระหว่าง 0 ถึง 521 ล้านบาท ส่วนภาระภาษีที่ฝ่ายผู้ประกอบการโรงเรียนกวดวิชาเป็นผู้รับภาระอยู่ระหว่าง 0 ถึง 500 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของอุปทานของการเรียนกวดวิชา แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลจะได้รับรายได้ขั้นต่ำที่พึงจะได้ จากการเรียกเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชามากกว่า 500 ล้านบาทต่อปี และภาระภาษีที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้ถูกผลักภาระไปที่นักเรียนทั้งหมด แต่ผู้ประกอบการโรงเรียนกวดวิชายังคงต้องเป็นผู้แบกรับไว้เป็นบางส่วน |
en |
dc.description.abstractalternative |
Taxation on private tutorial schools in Thailand currently receives a lot of attention due to massive income after its huge popularity among students as well as a number of such schools nowadays. At present, tax payment from these schools is exempted due to the worry that it could be a burden to students. However, there has never been a serious study of the real effect of tax collection and where the burden goes to. The objectives of this study are threefold. Firstly, this study aims to investigate the determinants of private tutorial demand and to analyze the price elasticity of participation by a Logistic econometric model. Secondly, effects of taxation on student participation behavior and Consumer Price Index are analyzed. Thirdly, partial equilibrium method is used to analyze tax burden. Results show that private tutorial demand depends on household income, student’s academic performance (GPA), school type and education level, and residential location/area. The results also show that the price elasticity of participation is inelastic, only -0.5396 countrywide. Such estimated figure reveals that students are not sensitive to a change in tutorial fee. Tax burden on students stays between 0 and 521 million baht while it goes between 0 and 500 million baht to the schools depending on the elasticity of supply. In addition, they also show that the government will receive more than 500 million baht of tax payment from these schools. Both students and private tutorial schools bear the burden of this tax revenue. |
en |
dc.format.extent |
1288513 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1417 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
โรงเรียนกวดวิชา |
en |
dc.subject |
ภาษี |
en |
dc.subject |
ความยืดหยุ่น (เศรษฐศาสตร์) |
en |
dc.subject |
Tutors and tutoring |
en |
dc.subject |
Taxation |
en |
dc.subject |
Elasticity (Economics) |
en |
dc.title |
ภาษีโรงเรียนกวดวิชา : ข้อยกเว้นเพื่อผลประโยชน์ของใคร |
en |
dc.title.alternative |
Private tutorial school tax : exception for whose benefit? |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์ |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Isra.S@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2012.1417 |
|