DSpace Repository

ประสบการณ์ด้านจิตใจของหญิงรักเพศเดียวกันที่มีความสัมพันธ์แบบคู่รัก

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
dc.contributor.advisor ณัฐสุดา เต้พันธ์
dc.contributor.author พิมพ์สิริอร ศิริทิณพงษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2013-03-19T07:09:45Z
dc.date.available 2013-03-19T07:09:45Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30036
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ด้านจิตใจของหญิงรักเพศเดียวกันที่มีความสัมพันธ์แบบคู่รัก โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคลจากหญิงรักเพศเดียวกันประเภททอมและดี้ จำนวน 14 ราย จากการวิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา พบ 5 ประเด็นหลัก ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) การรับรู้ตัวตนของทอมและดี้ มีความแตกต่างกันในด้านเพศสภาวะและรสนิยมทางเพศ อย่างไรก็ตาม ทั้งทอมและดี้ต่างรับรู้เหมือนกันว่า ความรู้สึกชอบเพศเดียวกันเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนโดยธรรมชาติ 2) การรับรู้อคติทางสังคมต่อหญิงรักเพศเดียวกันของทอมและดี้ประกอบด้วยอคติจากสมาชิกในครอบครัวและบุคคลภายนอก กลวิธีการจัดการกับอคติต่างๆ ที่ผู้ให้ข้อมูลกล่าวถึงมีอยู่ 4 วิธีคือ 1) การเผชิญหน้า 2) การหลีกเลี่ยงหรือหลีกหนี 3) การไม่ตอบสนอง และ 4) การให้ความเข้าใจผู้อื่น 3) ความทุกข์บีบคั้นใจของหญิงรักเพศเดียวกัน มีสาเหตุหลักมาจาก ‘อคติทางสังคม’ ส่งผลให้เกิดภาวะความขัดแย้งในจิตใจระหว่าง การเป็นตนเองที่เป็นโดยธรรมชาติและการเป็นในแบบที่สังคมคาดหวัง ใน 3 ลักษณะ คือ ขัดแย้งในตัวตน บทบาท และรสนิยมทางเพศ ความขัดแย้งดังกล่าวนี้ทำให้หญิงรักเพศเดียวกันตกอยู่ในภาวะอึดอัด สับสน วิตกกังวล กลัว กดดัน คิดมาก เครียด เห็นคุณค่าในตนเองต่ำ และมีแนวโน้มฆ่าตัวตายในบางราย 4) แหล่งสนับสนุนให้หญิงรักเพศเดียวกันก้าวข้ามผ่านความทุกข์ มี 5 แหล่ง ได้แก่ ตนเอง คู่รัก พ่อแม่ เพื่อนและสังคม ตนเองคือแหล่งที่ให้ความเข้มแข็งจากภายในที่สำคัญที่สุด ขณะที่คู่รักเป็นแหล่งที่ให้การยอมรับและเข้าใจในตัวตนได้อย่างลึกซึ้งมากที่สุด พ่อแม่เป็นแหล่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและความมั่นใจเมื่อต้องเผชิญกับโลกภายนอกที่เต็มไปด้วยอคติและเป็นกุญแจสู่อิสรภาพในการพัฒนาตัวตนและชีวิตคู่ในแบบยั่งยืนเป็นครอบครัว เพื่อนสนิทเป็นแหล่งที่ช่วยเหลือให้คำปรึกษาที่เข้าถึงง่ายที่สุด ส่วนสังคมเป็นแหล่งที่สำคัญที่สุดที่จะสามารถปลดปล่อยหญิงรักเพศเดียวกันจากตราบาปและความทุกข์ทางสังคมไปสู่อิสรภาพอย่างแท้จริง 5) ความสุขของหญิงรักเพศเดียวกันเกิดจาก ‘สายสัมพันธ์ทางจิตใจอันแน่นแฟ้น’ เพราะคู่รักหญิงรักเพศเดียวกันมีความเข้าใจกันในระดับสูง สามารถพูดคุยปรึกษากันได้ทุกเรื่อง แสดงความห่วงใย ดูแล เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด คอยช่วยเหลือเกื้อกูล และแสดงความรักต่อกันอย่างสม่ำเสมอ โดยผู้ให้ข้อมูลได้รับสิ่งดีๆ ในชีวิตหลายประการจากสายสัมพันธ์ทางจิตใจอันแน่นแฟ้นนี้ ได้แก่ ความมีชีวิตชีวาและรอยยิ้ม พลังผลักดันพัฒนาปรับปรุงตัว คุณค่าในตัวเอง ความสมบูรณ์เติมเต็มในชีวิต และได้สิ่งมีค่าที่สุด คือ ‘ความรักและความสุข en
dc.description.abstractalternative The purpose of the study is to explore the psychological experiences of lesbians who are in a couple relationship. The phenomenological qualitative method was applied in this research. Data was collected via in-depth interviews with 14 lesbians who constituted 7 lesbian couples. Each couple consists of the same type of relationship: a tomboy-like woman or so called “Tom” and a lady-like woman or so called “Dy”. The content and context methods were used for data analysis. The findings revealed 5 major domains as followed: 1) Toms and Dys are different in their self–awareness of gender and sexual orientation. However, both have experienced their homosexual feelings stemming naturally from their inner self. 2) The numerous social prejudices that Toms and Dys were aware of come both from their families and outsiders. There are four ways in which Toms and Dys handle the social and family prejudices. These coping strategies are confrontation, avoidance, indifference, and understanding others. 3) The major sufferings of Toms and Dys are mainly derived from the social prejudices which cause 3 kinds of psychological conflicts between who they are by their nature and what society expects them to be. These conflicts are the self, role, and sexual orientation which put them in the state of confusion, anxiety, fear, pressure, stress, low self-esteem as well as suicidal tendencies in a few cases. 4) The 5 major supportive sources that help alleviate their sufferings are: themselves, their partner, their parents, their friends, and society. Their own self is the most important inner source of strength. Their partner is the source that provides the deepest acceptance and understanding on their unique identities. Their parents are the most essential source to support their inner strength and confidence for them to live in the prejudiced world and to grant liberties for them to develop their real self and progress their couple relationship as a family in the long run. Their friends are the most easily-accessed source of help and consolation. Society’s acceptance and understanding is a crucial source that can set them free from stigmatization and sufferings. 5) The happiness of Toms and Dys derives from their strong intimate bonding. They understand each other well, can communicate due to the empathetic feelings they share, are well-caring and take care of each other, are helpful, and are lovingly expressive. The intimate bonding has brought them many precious things in life: vitality, self-improvement, self-value, fulfillment, love and happiness. en
dc.format.extent 5738514 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1124
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject เลสเบียน -- จิตวิทยา en
dc.subject ความสัมพันธ์แบบรัก-เกลียด en
dc.subject ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล en
dc.title ประสบการณ์ด้านจิตใจของหญิงรักเพศเดียวกันที่มีความสัมพันธ์แบบคู่รัก en
dc.title.alternative Psychological experience of lesbian in a couple relationship en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor arunya.t@chula.ac.th
dc.email.advisor tnattasuda@gmail.com
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.1124


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record