dc.contributor.advisor |
พัชสิรี ชมภูคำ |
|
dc.contributor.author |
ธัญญ์นรี ภูวศิริอภินันท์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
|
dc.date.accessioned |
2013-03-20T08:37:30Z |
|
dc.date.available |
2013-03-20T08:37:30Z |
|
dc.date.issued |
2554 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30093 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
en |
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับความเต็มใจในการสืบทอดกิจการของผู้รับสืบทอดกิจการของธุรกิจครอบครัว และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้รับสืบทอดกิจการ รางวัลจากธุรกิจ ความสอดคล้องกับความต้องการส่วนบุคคล การรับรู้ความไว้วางใจในความสามารถของผู้รับสืบทอดกิจการ ความสัมพันธ์ในครอบครัว การรับรู้การยอมรับบทบาทของแต่ละบุคคล การรับรู้ความต้องการในการถ่ายโอนอำนาจการบริหาร และความเต็มใจในการสืบทอดกิจการของผู้รับสืบทอดกิจการของธุรกิจครอบครัว โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ กิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล การสุ่มตัวอย่างเป็นแบบใช้วิจารณญาณ (Judgment Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยมีแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาและสามารถนำมาวิเคราะห์จำนวน 89 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ อัตราร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเต็มใจในการสืบทอดกิจการของผู้รับสืบทอดกิจการอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 3.65) และยังพบว่า ปัจจัยด้านความสอดคล้องกับความต้องการส่วนบุคคล ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว และด้านรางวัลจากธุรกิจ มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความเต็มใจในการสืบทอดกิจการของผู้รับสืบทอดกิจการของธุรกิจครอบครัว ส่วนปัจจัยด้านการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้รับสืบทอดกิจการ ด้านการรับรู้ความไว้วางใจในความสามารถของผู้รับสืบทอดกิจการ และด้านการรับรู้การยอมรับบทบาทของแต่ละบุคคล พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับความเต็มใจในการสืบทอดกิจการของผู้รับสืบทอดกิจการของธุรกิจครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
en |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research is to 1) study a level of the willingness of successor to take over family businesses and 2) study the relationships between preparation level of heirs, rewards from the business, personal needs alignment, trust in the successor’s abilities, family relationships, mutual acceptance of individual roles, propensity of the incumbent to step aside and the willingness of successor to take over family businesses. The sample sizes of this research are juristic small and medium enterprises by using judgment sampling. The instrument of this research is a questionnaire. 89 questionnaires were completed and sent back. Data analysis was performed by percentage, mean and multiple regression analysis. The results indicated that respondents had a high level of the willingness of successor to take over (Mean 3.65). The significant factors that influencing the willingness of successor to take over family businesses were personal needs alignment, rewards from the business and family relationships. But preparation level of heirs, trust in the successor’s abilities and mutual acceptance of individual roles did not significantly relate to the willingness of successor to take over family businesses. |
en |
dc.format.extent |
1569808 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1065 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ธุรกิจขนาดกลาง |
en |
dc.subject |
ธุรกิจขนาดย่อม |
en |
dc.subject |
ธุรกิจครอบครัว |
en |
dc.title |
ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจในการสืบทอดกิจการของผู้รับสืบทอดกิจการของธุรกิจครอบครัวในกลุ่มกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม |
en |
dc.title.alternative |
Factors influencing the willingness of successor to take over SMEs family business |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
บริหารธุรกิจ |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Pachsiry@acc.chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2011.1065 |
|