dc.contributor.advisor |
ณัฐสุดา เต้พันธ์ |
|
dc.contributor.author |
ธันยุดา บูรณวุฒิ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2013-03-30T11:10:54Z |
|
dc.date.available |
2013-03-30T11:10:54Z |
|
dc.date.issued |
2553 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30422 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
en |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของความสุขของผู้หญิงโสดและ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสุขดังกล่าว ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้หญิงโสดอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ เคยแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาก่อน ไม่มีความสัมพันธ์ฉันคู่รักกับใครและ/หรือไม่ได้ อยู่กินกับใครโดยพฤตินัย ในช่วงระยะ 3 ปีที่ผ่านมาหรือมากกว่า ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 12 ราย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการสังเกตและบันทึกส่วนตัวของ ผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแบบปรากฏการณ์วิทยา การวิเคราะห์ข้อมูลจากบทสัมภาษณ์พบว่าความสุขของผู้หญิงโสดในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลักดังนี้ ประเด็นแรกคือความสุขของผู้หญิงโสด มีอยู่ 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) พึงพอใจ คือ การมีความพึงพอใจในชีวิตโดยรวมของตนเอง 2) การมีความอิสระ คือ รู้สึกอิสระ สามารถทำอะไรก็ได้ตามใจต้องการ ไม่มีห่วง ไม่มีกังวล 3) การมีพลังในตนเอง คือ การมีอำนาจในการตัดสินใจด้วยตนเอง ได้เป็นตัวของตัวเอง 4) การมีความมั่นคงในใจ คือ การ รู้จักและเข้าใจตนเองรวมถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมุมมองในชีวิต นำไปสู่ความมั่นคงในจิตใจ ประเด็นที่สองคือปัจจัยสนับสนุนให้อยู่ในสภาวะโสดอย่างมี ความสุข มีอยู่ 4 ปัจจัยได้แก่ 1) การประสบความสำเร็จในการทำงาน คือ การมีหน้าที่การงาน ที่น่าพอใจ ประสบความสำเร็จ มีความสุขจากการทำงานและเป็นที่ยอมรับ 2) การมีครอบครัว เป็นแหล่งสนับสนุน คือ การมีครอบครัวคอยสนับสนุน ช่วยเหลือและไม่กดดันเรื่องการแต่งงาน 3) การมีเพื่อนที่ดี คือ การมีเพื่อนที่คอยรับฟัง เป็นที่ปรึกษา 4) การมีกิจกรรมที่ตนสนใจทำ คือ การมีกิจกรรมให้ทำช่วยให้ไม่รู้สึกเหงาและมีความสุขกับการใช้ชีวิตโสด ประเด็นที่สามคือสิ่ง ที่มากระทบความสุขทำให้รู้สึกหวั่นไหวต่อการเป็นโสดและวิธีการจัดการ เช่น การปล่อยวาง การวางแผนอนาคต การคิดในทางบวก การมีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ การอยู่กับปัจจุบัน และการใช้เหตุและผลแก้ปัญหา ส่วนประเด็นสุดท้ายคือ สิ่งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจอยู่เป็นโสด อันได้แก่ การมีทัศนคติทางลบต่อชีวิตคู่และมีทัศนคติทางบวกต่อการเป็นโสดทำให้ผู้หญิง ตัดสินใจเลือกที่จะอยู่เป็นโสดมากกว่ามีคู่ครอง |
en |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research was to study meaning of happiness according to single women’s perception and its’ related factors. Participants were 12 single never married women age 35 and above, who were not in relationships with anyone in the past 3 years or more, in Bangkok area. Data were collected by in-depth interview together with researcher’s observation and personal notes, analyzed by the phenomenology qualitative research method. Interview dialogues were analyzed and found that happiness of single women can be devided into 4 themes as follows; first theme was happiness of single women. There were 4 types; 1) Contentment: satisfied with one’s global life 2) Freedom: felt free to do thing as wished, nothing to worried about 3) Self-detemination: had power in making one’s own decision 4) Self-composed:known and understood oneself and environment resulted in perception’s chaged which lead to mental stability. Second theme supported factors in living happily in single state. There were 4 factors; 1) Successed in work: had satisfied work, successed and happied with that work and gained acceptance 2) Had family support: family always supported with no pressured about marriage 3) Had good friends: had friends to consult with when needed 4) Had activities to do: had activities to relieved lonliness and brought happy to life. Third theme was things that affected happiness and ways to recovered it such as detachment, planning, positive thinking, flexible, living in present, and rationalize. Last theme was things that affected decision of being single, negative attitude toward’s married life and positive attitude toward’s single life, which lead women to stay single. |
en |
dc.format.extent |
10465829 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2028 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ความสุข -- แง่จิตวิทยา |
en |
dc.subject |
สตรีโสด -- ทัศนคติ -- ไทย |
en |
dc.title |
ความสุขของผู้หญิงโสด อายุ 35 ปีขึ้นไป |
en |
dc.title.alternative |
Happiness of single women age 35 and above |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
จิตวิทยาการปรึกษา |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Nattasuda.T@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2010.2028 |
|