dc.contributor.author |
ทวีวงศ์ ศรีบุรี |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย |
|
dc.coverage.spatial |
กรุงเทพมหานคร |
|
dc.date.accessioned |
2013-05-09T01:49:19Z |
|
dc.date.available |
2013-05-09T01:49:19Z |
|
dc.date.issued |
2541 |
|
dc.identifier.isbn |
9743311084 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30864 |
|
dc.description.abstract |
โครงการ "การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจาการทรุดตัวของพื้นดินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร" เป็นการศึกษาลักษณะของการทรุดตัวของพื้นดินในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาครอบคลุมพื้นที่โครงการประมาณ 650 ตารางกิโลเมตร ซึ่งผลของการศึกษาพบว่าในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมาพื้นที่ในโครงการบางส่วนมีการทรุดตัวประมาณ 1.0 เมตรเป็นผลจากการสูบน้ำใต้ดิน โดยในอดึตเมื่อระบบการประปามีการจ่ายน้ำไม่ทั่วถึงจึงมีการสูบน้ำมาใช้ทั้งในส่วนของภาครัฐบาลและเอกชนต่อมาเมื่อมีการศึกษาและตรวจสอบอัตราการทรุดตัวของพื้นดินที่มีอัตราที่สูงมาก ทำให้ต้องมีมาตราการในการลดและควบคุมการสูบน้ำใต้ดินไม่ว่าจะเป็นบ่อของทั้งภาครัฐบาลและเอกชนเป็นผลให้ปริมาณการสูบน้ำลดน้อยลงแต่จนถึงปัจจุบันก็ยังมีการสูบน้ำใต้ดินอยู่บ้าง การลดปริมาณการสูบน้ำนี้เองเป็นผลให้อัราการทรุดตัวของพื้นดินลดลง แต่ผลกระทบที่เกิดจากการทรุดตัวของพื้นดินได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสภาวะแวดล้อมอย่างต่อเนื่องไม่ว่าด้านวิศวกรรมหรือด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องมีการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เพราะเมื่อแผ่นดินทรุดระดับของพื้นดินก็จะลดตามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางการไหลของน้ำซึ่งในอดีตเคยไหลลงสู่แม่น้ำแต่ปัจจุบันกลับไหลย้อนลงสู่พื้นที่ต่ำในเมืองและน้ำในแม่น้ำก็ไหลเอ่อท่วมเข้าสู่บริเวณเมือง การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการทรุดตัวของพื้นดินใช้งบประมาณที่สูงมาก ดังเช่นโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมสำหรับพื้นที่โครงการอันประกอบด้วยทั้งการใช้สิ่งก่อสร้างและไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง โดยค่าใช้จ่ายตามการคำนวณในปี พ.ศ. 2539 จะมีมูลค่าเกินหนึ่งแสนล้านบาท สำหรับโครงการต่าง ๆ ของระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการการออกแบบเพื่อการก่อสร้างก็ต้องเผื่อการทรุดัวของพื้นดินซึ่งก็หมายถึงการเพิ่มต้นทุนค่าก่อสร้าง และถ้าเป็นถนนก็ต้องสร้างให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมซึ่งกลายเป็นผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่ตามริมถนนที่จมอยู่ต่ำกว่าระดับถนนและประสบปัญหาน้ำท่วมขังเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการต่าง ๆ ที่ชัดเจนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทรุดตัวของพื้นดินที่ชัดเจน เช่น การงการสูบน้ำบาดาล การจัดการใช้ที่ดิน การให้ความรู้แก่ประชาชน เป็นต้น |
|
dc.description.abstractalternative |
Project "Environmental Implications of the Subsidence of Bangkok Metropolis" is based on the land subsidence rate in the project area, east bank of Chao Phraya River for the area of about 650 square kilometers. The results of the study show that in the past 20 years some part of the project area has subsided more than 1.0 meters. The main cause of land subsidence is from high rate of pumping ground water for a long time. In the past, both public and private enterprises were using ground water as a major source of water supplies because of not enough disribution system. Since some government agencies have proved that land subsidence rate was the result from pumping ground water, several remedial measures were introduced including stop pumping ground water. Eventhough the measure is in effected but pumping ground water is still going on but smaller in the pumping rate. It has shown that reducing in pumping rate can also reduce the subsidence rate. The impacts caused by land subsidence is a long term impact that caused several types of damage such as engineering and flood aspects. It has changed flow direction of surface run-off instead of flowing to river it flows to the lowest part or the highest rate of land subsidence. Measure in protecting from land subsidence problem is quite difficult with very high investment cost. Example on flood protection measures that has been using both structural and nonstructural measures for the projet area was estimated in 1997 of mort than one hundred thousand million Baht. For other infrastructure investment projects that has to consider the rate of land subsidence during designing period caused higher investment cost. Even the road that has been raised to higher than flood level has caused a lot of problem to the people linving along that road because of surface run-off is running to the lower area. Responsible agencies have to really control in reducing the rate of land subsidence by setting strictlycontrol measures such as stop pumping ground water, strictly control on land development and give more information to people on causes of land subsidence problems. |
|
dc.description.sponsorship |
ได้รับเงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน 2541 |
en |
dc.format.extent |
21204788 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
en |
dc.subject |
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
en |
dc.subject |
การใช้ที่ดิน -- แง่สิ่งแวดล้อม -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
en |
dc.subject |
แผ่นดินทรุด -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
en |
dc.subject |
แผ่นดินทรุด -- แง่สิ่งแวดล้อม -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
en |
dc.title |
การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการทรุดตัวของพื้นดิน ในกรุงเทพมหานคร : รายงานการวิจัย |
en |
dc.title.alternative |
Initial environmental impact study on land subsidence in Bangkok Metropolis |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
sthavivo@chula.ac.th |
|