Abstract:
ถึงแม้เซลล์ต้นกำเนิดของนุษย์ที่สร้างจากตัวอ่อน (human embryonic stm cells; hESCs) จะมีคุณสมบัติที่สำคัญคือสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ต่าง ๆของร่างกาย อาจจะสามารถนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเสื่อมของเซลล์หรืออวัยวะต่าง ๆ ได้ในอนาคต แต่ข้อจำกัดที่สำคัญของการนำเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมาใช้ คือการต่อต้านเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนโดยภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย เนื่องจากเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน ไม่ได้สร้างมาจากเซลล์ของผุ้ป่วยเอง ในอดีตได้มีความพยายามในการนำเทคนิคการย้ายฝากนิวเคลียส (nuclear transfer) มาใช้ในการสร้างเซลล์ต้นกำเเนิดตัวอ่อน โดยย้ายนิวเคลียสจากเซลล์ร่างกายของผุ้ป่วยไปสู่ไข่ตัวรับ (recipient ooyte), กระตุ้นให้ไข่แบ่งตัวจนถึงระยะบลาสโตซีส, แยกกลุ่มเซลล์อินเนอร์เซลล์มส (inner cel mass; ICM) และเลี้ยงในห้องปฏิบัติการจนเจริญเป็นเซลล์ต้นกำเนิดัวอ่อน วิธีนี้เคยได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก รวมทั้งคณะผู้วิจัยด้วยอย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดของจำนวนไข่ที่ต้องใช้ และความยากทางด้านเทคนิค จนกระทั่งนักวิจัยชาวญี่ปุ่นค้นพบวิธีการสร้างเซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำเซลล์ร่างกายให้กลับไปมีคุณสมบัติคล้ายกับเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน โดยไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคการย้ายฝากตัวอ่อน จึงทำให้นักวิจัยทั่วโลกให้ความสนใจและทำวิจัยด้านนี้กันเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับคณะผู้วิจัย หลังจากได้ทดลองทำการสร้างตัวอ่อนด้วยเทคนิคการย้ายฝากนิวเคลียส แต่ไม่ประบความสำเร็จในการสร้างตัวอ่อนระยะบลาสโตซิส จึงไม่สามารถแยกเซลล์อินเนอร์เซลล์แมส และสร้างเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนด้วยเทคนิคการย้ายฝากนิวเคลียสได้ คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการเปลี่ยนแผนการดำเนินงานวิจัย โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างเซลล์ต้นจากการเหนี่ยวนำเซลล์ร่างกาย ด้วยความร่วมมือกับห้องปฏิบัติการเซลล์ต้นกำเนิด และ เซลล์บำบัด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัย RIKEN เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น คณะผู้วิจัยประสบความสำเร็จในการสร้างเซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำเซลล์เลือดจากสายสะดือ ด้วยการใช้ Sendai virus และ episomal vectors ซึ่งถือว่าเซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำที่ได้จากทั้งสองวิธีนี้เป็น เซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำที่มีความปลอดภัยเพราะเป็น transgene-free และเหมาะสมในการนำมาใช้ในทางคลินิกเป็นอย่างมากในอนาคต