Abstract:
โรคปริทันต์เป็นโรคประกอบขึ้นจากหลายเหตุปัจจัย โดยไลโปโพลีเซคคาไลด์ (แอลพีเอส) เป็นปัจจัยหลักอันหนึ่งของการเกิดและการดำเนินไปของโรค แอลพีเอสจากแบคทีเรียเอสเซอริเซียโคไลถูกนำมาใช้ ในการศึกษาผลของแอลพีเอสมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี เนื่องจากมีส่วนของโครงสร้างที่พบได้ในเอนโดทอกซินของบคทีเรียแกรมลบทุกชนิด อย่างไรก็ตามการศึกษาในแอลพีเอสที่ได้จากพอไฟโรโมแนสจินจิวอลิส ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดโรคปริทันต์ให้ผลการศึกษาที่ต่างไปจากผลที่ได้จากเอสเซอริเซียโคไลแอลฟีเอส นอกเหนือจากปัจจัยทางชีวภาพแล้ว พบว่าปัจจัยทางกายภาพก็มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเซลล์เนื่องจากภายในช่องปากมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิบ่อยครั้ง อุณหภูมิที่สูงกว่าอุณหภูมิร่างกาย อาจส่งผลต่อสภาวะของโรคปริทันต์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของแอลฟีแอสที่ได้จากพอไฟโรโมแนสจินวิจอลิสกับเอสเซอริเซียโคไล และผลของความร้อนต่อระดับการแสดงออกของทูเมอร์เนโคริสแฟคเตอร์อัลฟ่า (ทีเอ็นเอฟอัลฟ่า) ในไฟโบรบลาสต์ที่ได้จากเหลือกและเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ในแง่ของตัวรับรู้และการถ่ายทอดสัญญาณภายในเซลล์ ศึกษาโดยเลี้ยงเซลล์ไฟโบรบลาสต์ที่ได้จากเหงือกและเอ็นยึดปรทันต์ของนุษย์ในห้องปฏิบัติการ แล้วกระตุ้นเซลล์ด้วยพอไฟโรโมแนสจินจิวอลิสแอลพีเอส เอสเชอริเชียโคไลแอลพีเอส หรือเลียงเซลล์ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส สำหรับการกระตุ้นด้วยความร้อน การเปลี่ยนแอลงของทีเอ็นเอฟอัลฟ่าในระดับอาร์เอ็นเอนำรหัส และโปรตีน วิเคราะห์ด้วยเทคนิคอวร์ที-พีซีอาร์ และอีไลซา ส่วนการส่งถ่ายสัญญาณในเซลล์ ศึกษาโดย ในระดับตัวรับรู้ของเซลล์ใช้แอนิบอดีตัวยับยั้งร่วมกับเทคนิคเอสไออาร์เอ็นเอที่มีความจำเพาะต่อตัวรับรู้แอลพีเอสของเซลล์คือ โทลไลค์รีเซ็บเตอร์ 2 และ 4 เพื่อหาตัวรับรู้ที่เซลล์แต่ละชนิดใช้ และต่อชนิดของแอลพีเอสที่เซลล์รับรู้ ส่วนในการส่งถ่ายสัญญาณในเซลล์
ใช้ตัวยังยั้งที่มีความจำเพาะต่อโมเลกุลที่ส่งถ่ายสัญญาณ ผลการศึกษาพบว่าทั้งเซลล์ไฟโบรบลาสต์ที่ได้จากเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์สามารถรับรู้แอลพีเอสทั้งสองชนิดได้โดยใช้โทลไลค์รีเซ็บเตอร์ 2 หรือ 4 เพียงตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งส่งผลในการเพิ่มการแสดงออกของทีเอ็นเอฟอัลฟ่า เส้นทางการส่งถ่ายสัญญาณในเซลล์พบว่า เซลล์ไฟโบรบลาสต์จากเอ็นยึดปริทันต์เมื่อกระตุ้นด้วยพอไฟโรโมนสจินจิวอลิสแอลพีเอสจะผ่านไปทางพีไอทรีเค และ เอเคที แต่เมื่อถูกกระตุ้นด้วยเอสเชอริเซียโคไลแอลพีเอสจะผ่านไปทางเอเคทีและเอิร์ค ส่วนในเซลล์ไฟโบรบลาสต์ จากเหงือกเมื่อกระตุ้นด้วยพอไฟโรโมแนสจินจิวอลิสอลพีเอสจะผ่านไปทางเอิร์ค พี 38 ไคเนส และเอ็นเอฟแคปปาบี แต่เมื่อถูกกระตุ้นด้วยเอสเซริเซียโคไลแอลพีเอสจะผ่านไปทางเอ็นเอฟแคปปาบีเท่านั้น สำหรับความร้อนนั้นเซลล์รับรู้ผ่านทางตัวรับรู้ทริบวี-1 โดยส่งถ่ายสัญญาณไปทาง พีเคซี การใช้ไซโตคาลาซินดี ซึ่งยับยั้งการเกิดแอกตินโพลิเมอร์ ทำให้ทราบว่าการจัดเรียงตัวใหม่ของโครงร่างกายในของเซลล์อาจมีความสำคัญในกลไกการรับรู้ความร้อนของเซลล์ โดยสรุปจากข้อมูลข้างต้นพบว่าเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์มีกลไกการตอบสนองต่อพอๆฟโรโแนสจินจิวอลิส และเอส เอสเชอริเซียโคไลแอลพีเอสในการเพิ่มการสร้างทีเอ็นเอฟอัลฟ่าต่างกัน ส่วนการตอบสนองของเซลล์ต่อความร้อนโดยรับรู้ผ่านทริบวี-1 แสดงให้เป็นว่าความร้อนน่าจะมีบทบาทในรอยโรคปริทันต์