DSpace Repository

ค่ากำลังแรงยึดดึงของเรซินซีเมนต์สามระบบกับเนื้อฟันที่ผ่านการแช่โซเดียมไฮโปคลอไรท์

Show simple item record

dc.contributor.advisor นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล
dc.contributor.author อรุณรัตน์ มุจจลินท์วิมุติ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-05-21T06:17:55Z
dc.date.available 2013-05-21T06:17:55Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31165
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินค่ากำลังแรงยึดดึงของวัสดุยึดติด 3 ระบบคือ ซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี พานาเวียเอฟทู และรีลายเอ็กซ์ยูนิเซมร่วมกับแอดฮีซีฟเอ็กไซท์ดีเอสซี กับเนื้อฟันที่ผ่านการแช่ด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ความเข้มข้นร้อยละ 2.5 เป็นเวลา 3 นาที โดยนำฟันกรามมนุษย์ซี่ที่สามที่ตัดด้านสบฟันออกให้เห็นผิวเนื้อฟัน จากนั้นแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยนำมายึดด้วยวัสดุเรซินซีเมนต์ทั้ง 3 ระบบ และนำมายึดกับเรซินคอมโพสิตโดยการอุดเป็นชั้น จากนั้นเก็บชิ้นงานในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ทำการตัดชิ้นงานให้เป็นรูปดัมเบลล์ นำไปทดสอบค่ากำลังแรงยึดดึงด้วยความเร็วหัวดึง 1 มิลลิเมตรต่อนาที นำชิ้นงานที่แตกหักมาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ เพื่อแบ่งลักษณะความล้มเหลวที่เกิดขึ้น และบันทึกภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราด จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติเปรียบเทียบโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์เชิงซ้อนด้วยวิธีทูกีย์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มรีลายเอ็กซ์ยูนิเซมร่วมกับแอดฮีซีฟเอ็กไซท์ดีเอสซี และกลุ่มซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี มีค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดดึงแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสูงกว่ากลุ่มพานาเวียเอฟทู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ en
dc.description.abstractalternative The objective of this study is to evaluate microtensile bond strength of 3 resin cement systems; Superbond C&B, Panavia F 2.0 and Rely X Unicem with Adhesive Excite DSC on dentin soaked in 2.5% sodium hypochlorite solution for 3 minutes. By flattening human third molars to dentin surface depth and divided into 3 specimen groups. Bonded all 3 resin cements systems with resin composites by incremental filling. Consequently, specimen were stored in distilled water at 37 ℃ for 24 hrs. and sectioned into dumbbell shape to test for bond strength with a cross-head speed of 1 mm/min. The mode of failure specimens was categorized with stereomicroscope and captured their photos with scanning electron microscopy (SEM). The data were statistically analyzed with One-way ANOVA and Tukey Multiple Comparison (α = 0.05). The result shows that mean bond strength of Rely X Unicem with Adhesive Excite DSC and Superbond C&B were equal with no statistical difference and statistically higher than did Panavia F 2.0 system. en
dc.format.extent 8145490 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.267
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject คลองรากฟัน -- การรักษา en
dc.subject โซเดียมไฮโปคลอไรด์ en
dc.subject เรซินทางทันตกรรม en
dc.subject การยึดติดทางทันตกรรม en
dc.title ค่ากำลังแรงยึดดึงของเรซินซีเมนต์สามระบบกับเนื้อฟันที่ผ่านการแช่โซเดียมไฮโปคลอไรท์ en
dc.title.alternative Tensile bond strength of three resin cement systems to dentin immersed in sodium hypochlorite en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline ทันตกรรมประดิษฐ์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor niyom.t@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.267


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record