dc.contributor.advisor | สมพล เล็กเฟื่องฟู | |
dc.contributor.author | คมคาย ศรีจันทร์ | |
dc.contributor.author | วิลาวัลย์ เพาะปลูก | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2006-10-10T11:19:44Z | |
dc.date.available | 2006-10-10T11:19:44Z | |
dc.date.issued | 2543 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3216 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อประเมินความรู้และทัศนคติของครูต่อการยอมรับเกี่ยวกับประสิทธิภาพของฟลูออไรด์ในการป้องกันโรคฟันผุในเด็ก โดยทำการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามที่แจกให้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งได้แก่ครูที่สอนระดับประถมศึกษา ของโรงเรียนพญาไทในเขตกรุงเทพมหานคร ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 จำนวน 114 คน ซึ่งแบบสอบถามนี้ประกอบด้วยคำถามที่วัดความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับฟลูออไรด์ รวมทั้งการนำฟลูออไรด์ไปใช้ จำนวน 30 ข้อ โดยประเมินแยกเป็น 3 ตอน ผลจากการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า ความรู้เกี่ยวกับฟลูออไรด์ในการป้องกันโรคฟันผุที่ครูร้อยละ 50 ขึ้นไป ตอบได้ถูกต้องมี 8 ข้อ จาก 15 ข้อ ความรู้ที่ครูตอบได้ถูกต้องมากที่สุด คือ ครูร้อยละ 84.2 ทราบว่าฟลูออไรด์มีประสิทธิภาพทำให้ฟันแข็งแรงและช่วยในการป้องกันโรคฟันผุ ส่วนความรู้ที่ครูตอบได้ถูกต้องน้อยที่สุด คือ ครูร้อยละ 23.7 ทราบว่าฟลูออไรด์ไม่ได้ช่วยในการทำความสะอาดฟัน เมื่อให้ครูแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของฟลูออไรด์ในการป้องกันโรคฟันผุในเด็ก ครูส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ควรจัดให้มีการอบรมความรู้เกี่ยวกับฟลูออไรด์ในการป้องกันโรคฟันผุในเด็ก และเด็กควรได้รับฟลูออไรด์ภายใต้การดูแลของทันตแพทย์หรือทันตบุคลากร การอบรมทันตสุขภาพไม่มีผลต่อความรู้ของครู ซึ่งครูส่วนใหญ่ได้รับความรู้ทันตสุขภาพจากแหล่งความรู้ คือ โทรทัศน์ มากที่สุด ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับฟลูออไรด์ในการป้องกันโรคฟันผุในเด็กเพื่อให้ครูมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า ครูที่สอนระดับประถมศึกษาส่วนใหญ่ ของโรงเรียนพญาไท เขตกรุงเทพมหานคร มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับฟลูออไรด์และมีทัศนคติในทางบวกต่อการใช้ฟลูออไรด์ในการป้องกันโรคฟันผุในเด็ก | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study were to evaluate teacher's knowledge and attitude with perception about efficiency of the fluoride in prevention of dental caries. Self-administered questionnaires were sent to the primary school teacher of Phayathai School, BKK, Thailand in February 2001. A total of 114 teachers had been responded. (100%) The complete questionnaires, that consist of 30 items and divided to 3 parts such as knowledge, attitude about fluoride and fluoride usage. The result showed that the knowledge that over 50% of teachers answered correctly were 8 from 15 questions. The most correct answer was that 84.2% of teachers knew that fluoride makes tooth enamel more resistant to decay. The least correct answer was that 23.7% of teachers knew that fluoride didn't clean the teeth. When teacher were asked attitude about the fluoride prevention of children's tooth decay. The most of teachers, thought that it should have some training about fluoride's knowledge and children should have received fluoride under counseling of dentist or dental personnel. It was also found that training in dental health issue not affected the teacher's knowledge and attitude toward responsibilities. (p>0.05) The most of teacher receive dental health knowledge was from television. Finding indicate that there is a need to educate teacher more comprehensively about fluoride prevention of dental caries. In conclusion, the most of primary school teachers of Phayathai School have correct knowledge about fluoride and there have had positive attitude about the fluoride prevention of dental caries. | en |
dc.format.extent | 4858269 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ฟันผุในเด็ก | en |
dc.subject | ฟลูออไรด์ | en |
dc.title | ความรู้และทัศนคติของครูเกี่ยวกับฟลูออไรด์ในการป้องกันโรคฟันผุ : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.advisor | Sompol.L@Chula.ac.th | |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล |