Abstract:
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อทดสอบคุณสมบัติของสารสกัดจากเปลือกองุ่นแดงในการต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งกระบวนการไกลเคชั่นร่วมกับการวิเคราะห์ส่วนประกอบของสารพฤกษเคมี โดยพบว่าสารสกัดจากเปลือกองุ่นแดงประกอบด้วยสารประกอบฟีโนลิก สารฟลาโวนอยด์ สาร condensed tannin และสารแอนโธไซยานิน และสำหรับการทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2, 2 – diphenyl – 1 – picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging activity, trolox equivalent antioxidant capacity assay (TEAC), hydroxyl radical scavenging activity, superoxide radical scavenging activity และferrous ion chelating power พบว่า มีค่า IC50 เท่ากับ 0.027 ± 0.001, 0.811 ± 0.003, 5.4 ± 0.04, 0.575 ± 0.008 และ 1.05 ± 0.01 mg/ml ตามลำดับ และค่า EC ของการทดสอบวิธี ferric reducing antioxidant power (FRAP) เท่ากับ 0.671 ± 0.006 mg/ml นอกจากนี้ยังพบว่า สารสกัดจากเปลือกองุ่นแดงสามารถยับยั้งการเกิดadvanced glycation end products (AGEs) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.01)และสามารถลดปริมาณสารโปรตีนคาร์บอนิล สาร cross beta amyloid structure ฟรุกโตซามีนและ AGEs ชนิด Nε-(carboxymethyl) lysine (CML) รวมทั้งช่วยลดการสูญเสียโปรตีน thiol ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)จากผลการทดลองดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า สารสกัดจากเปลือกองุ่นแดงมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งกระบวนการไกลเคชั่น ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้