DSpace Repository

การศึกษานอกร่างกายถึงกลไกการขนส่งฟลูออไรด์ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข : รายงานผลการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author จีรศักดิ์ นพคุณ
dc.contributor.author ศานตี เตชาภิประณัย
dc.contributor.author ศิริพร โชติไพบูลย์พันธ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาสรีรวิทยา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาสรีรวิทยา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาสรีรวิทยา
dc.date.accessioned 2006-10-12T02:17:04Z
dc.date.available 2006-10-12T02:17:04Z
dc.date.issued 2534
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3223
dc.description.abstract การดูดซึมฟลูออไรด์เกิดได้ทั้งในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก แต่กลไกการขนส่งฟลูออไรด์ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ได้ทำการทดลองแสดงถึงอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงสภาวะกรดด่างของสารละลาย และการเปลี่ยนแปลงปริมาณโซเดียม และคลอไรด์ไอออนที่อยู่ในสารละลายด้านผิวดูดซึมต่อการขนส่งฟลูออไรด์ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข โดยชั้นเซลล์ดูดซึมจะได้รับบริการแยกจากส่วนที่เป็นชั้นกล้ามเนื้อ และนำมาใส่ในเครื่องมือศึกษาการดูดซึมภายนอกร่างกาย สารละลายที่สัมผัสกับผิวเซลล์ดูดซึมจะได้รับการแยกจากส่วนที่เป็นชั้นกล้ามเนื้อ และนำมาใส่ในเครื่องมือศึกษาการดูดซึมภายนอกร่างกาย สารละลายที่สัมผัสกับผิวเซลล์ดูดซึมจะได้รับการปรับสภาวะกรดด่างที่ 6.0 7.0 และ 8.0 ส่วนสารละลายที่สัมผัสด้านหลอดเลือดจะคงสภาวะกรดด่างที่ 7.5 ฟลูออไรด์จะถูกเติมลงไปในสารละลายด้านเซลล์ดูดซึม เพื่อให้ได้ความเข้มข้น 0.25 0.5 และ 1.0 มิลลิโมลาร์ หลังจากนั้น 30 นาทีจะนำสารละลายด้านหลอดเลือดไปหาปริมาณฟลูออไรด์ ผลการทดลองพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาวะกรดด่างระหว่าง 6.0-8.0 ไม่มีผลต่อการขนส่งของฟลูออไรด์ผ่านเซลล์ผนังลำไส้เล็ก การลดลงในความเข้มข้นของโซเดียมไอออน จะมีผลให้การดูดซึมฟลูออไรด์ลดลง แต่การขนส่งฟลูออไรด์เพิ่มขึ้นเพื่อคลอไรด์ไอออนลดลง ผลการทดลองไม่มีข้อมูลสนับสนุนสมมุติฐานที่มีผู้เสนอว่าการดูดซึมฟลูออไรด์ในลำไส้เล็กเกิดขึ้นในรูปการแพร่กระจายของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ แต่ข้อมูลที่ได้จากการทดลองชี้ให้เห็นว่าการดูดซึมของฟลูออไรด์จากลำไส้เล็ก น่าจะเกิดจากการแพร่กระจายของฟลูออไรด์ไอออน en
dc.description.abstractalternative Fluoride absorption occurs from the stomach and continues throughout the small intestine. The mechanism of fluoride absorption in the small intestine is not well understood. The effect of pH on intestinal fluoride absorption and the possibility that fluoride transfer across intestinal mucosa occurs as the ionic form rather than the hydrogen fluoride (HF) were investigated in vitro using isolated segments of dog jejunum in a 2-chamber system. The pH of the mucosal buffer was varied (6.0-8.0) but the serosal buffer was held constant at 7.5. Fluoride was added to the mucosal buffer and the serosal fluoride concentration was measured after 30 minutes incubation. No significant effect of pH wihin this physiological range was observed on fluoride across the intestinal segment. The reduction of Na[superscript +] concentration and the inhibition of active transport by ouabain reduced fluoride transfer. Reduction of Cl[superscript -] concentration in the mucosal buffer increased fluoride transfer. The absence of apH effect and the positive response to changes in Na[superscript +] transport lead to the conclusion that intestinal fluoride absorption occurs as the ion, not as HF, presumably via the paracellular channels. en
dc.description.sponsorship กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช en
dc.format.extent 3901620 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject สุนัข en
dc.subject ฟลูออไรด์ en
dc.subject การดูดซึม en
dc.title การศึกษานอกร่างกายถึงกลไกการขนส่งฟลูออไรด์ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข : รายงานผลการวิจัย en
dc.title.alternative Mechanism of fluoride transfer across intestinal epithlium of dogs in vitro en
dc.type Technical Report en
dc.email.author Njeerasa@chula.ac.th
dc.email.author Csiripor@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record