DSpace Repository

อิทธิพลของคอลลาเจนต่อการแสดงออกของเอนไซม์ MMP-2 และ MMP-9 ในเซลล์ไลน์ที่เตรียมจากมะเร็ง สแควมัสเซลล์คาชิโนมา : รายงานผลการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author นีรชา สารชวนะกิจ
dc.contributor.author ประสิทธิ์ ภวสันต์
dc.contributor.author อาทิพันธุ์ พิมพ์ขาวขำ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
dc.date.accessioned 2006-10-12T03:44:22Z
dc.date.available 2006-10-12T03:44:22Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3233
dc.description.abstract มะเร็งชนิดสแควมัสเซลล์เป็นมะเร็งชนิดที่พบมากในบริเวณช่องปากและใบหน้า และมีอัตราการแพร่กระจายที่สูง ดังนั้นการเข้าใจธรรมชาติของมะเร็งชนิดนี้มากขึ้นน่าจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำนายการดำเนินไปของโรครวมทั้งแนวทางในการรักษาต่อไป วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาการแสดงออกของเอนไซม์ในกลุ่มเจลาติเนส (MMP-2 และ MMP-9) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องในกระบวนการแทรกซึมและแพร่กระจายของมะเร็งโดยทั่วไป โดยใช้เซลล์ไลน์ที่เตรียมได้จากมะเร็งชนิดสแควมัสเซลล์ของมนุษย์ (HSCs; HSC-3, 6 และ 7) ทดสอบกับโปรตีนในเมทริกซ์นอกเซลล์ คือคอลลาเจน และเซลล์ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันคือ ไฟโปรบลาสต์ที่ได้จากเนื้อเยื่อเหงือกของมนุษย์ (HGF) รวมทั้งศึกษาถึงอิทธิพลของคอลลาเจนที่มีต่อการเคลื่อนที่ของเซลล์ (HSCs ผลการทดลองพบว่าคอลลาเจนชนิดที่ I ที่มีโครงสร้างสามมิติ (เจล) สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ MMP-2ใน HSC-3, 6 และ 7 ได้ดีกว่าคอลลาเจนชนิดที่ I ดราย ในขณะที่คอลลาเจนชนิดที่ IV ดรายไม่มีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ MMP-2 นอกจากนี้คอลลาเจนทุกชนิดและรูปแบบที่ใช้งานวิจัยนี้ไม่ทำให้เกิดแอคทีป MMP-9 ผลการทดลองยังแสดงว่าระดับของแอคทีฟ MMP-2 ที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับระดับการแสดงออกของอาร์เอ็นเอนำรหัสของเอนไซม์ MT1-MMP อีกด้วย นอกจากนี้รูปร่างและการเรียงตัวของเซลล์บนคอลลาเจนชนิดที่ I ที่มีโครงสร้างสามมิติ (เจล) มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนโดย HSC-3 จะแผ่กระจายไปทั่วพื้นผิวคอลลาเจน ในขณะที่ HSC-6 และ HSC-7 จะรวมตัวอยู่เป็นกลุ่ม ๆ สำหรับการเลี้ยงเซลล์ HGF ร่วมกับเซลล์ HSC-3 หรือ HSC-7 โดยให้มีการสัมผัสกันระหว่างเซลล์ พบว่าทำให้เกิดแอคทีฟ MMP-2 ในขณะที่การเลี้ยงร่วมกับ HSC-6 ส่งผลให้มีการหลั่งเอนไซม์ MMP-9 เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าทั้งคอลลาเจนและ HGF มีอิทธิพลต่อการกระตุ้นการทำงานของ MMP-2 ใน HSCs สำหรับอิทธิพลของคอลลาเจนชนิดที่ I และ IV ต่อการเคลื่อนที่นั้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเซลล์ไลน์พบว่า จำนวนเซลล์ของ HSC-3 ที่เคลื่อนที่ผ่านคอลลาเจนทั้งสองชนิดมีมากกว่า HSC-6 และ HSC-7 ตามลำดับ ซึ่งผลการศึกษาในด้านรูปร่าง การเรียงตัว และความสามารถในการเคลื่อนที่ผ่านคอลลาเจนทั้งสองชนิด ชี้ให้เห็นในเบื้องต้นว่า HSC-3 มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรุนแรง และอยู่ในระยะของดิฟเฟอเรนซิเอชั่นที่ต่ำกว่า HSC-6 และ HSC-7 ตามลำดับ ทั้งนี้สอดคล้องกับระดับของแอคทีฟ MMP-2 ที่เซลล์สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เซลล์เข้าสู่กระบวนการแพร่กระจายต่อไป en
dc.description.abstractalternative Squamous cell carcinoma is the most found tumor of the oro-facial area with high incidence of metastasis. More understanding in the nature of this tumor could provide the useful informationfor predicting outcome and proper treatment. The purpose of this study was to investigate the expression of gelatinases (MMP-2 and MMP-9), which were implicated in the invasion and metastasis of cancer, in human squamous carcinoma cell lines (HSCs; HSC-3, 6 and 7) by stimulating with various types and forms of collagen and co-culturing with human gingival fibroblasts (HGFs). In addition, the influence of collagen on cell migration was also observed. The result revealed that the activation of MMP-2 was induced by 3-dimensional type I better than dry type I collagen in all cell lines, but could not be induced by dry type IV collagen. Any collagen could induce the activation of MMP-9. Moreover, those levels of active MMP-2 well correlated with the levels of MT1-MMP mRNA. Morphology and arrangement among HSCs when cultured on3-dimensional type I collagen showed remarkably differences. HSC-3 arranged in monolayer and covered the whole surface of collagen gel, whereas HSC-6 and HSC-7 arranged in cord-like and clumps of multiple cell layers, respectively. Co-culture of HGF and HSC-3 or HSC-7 by having cell-cell contact activated MMP-2, but not MMP-9, whereas that of HSC-6 resulted in increasing the secretion of MMP-9. These results confirmed the influences of collagen and HGF on the activation of MMP-2 in HSCs. For the migration assay, HSC-3 showed the highest migration ability through type I and IV collagen by cell number to those of HSC-6 and HSC-7, respectively. Taken together, the results of cell morphology and arrangement on 3-dimensional type I collagen including the migration ability suggested that HSC-3 performed the highest invasive phenotype and the poorest differentiation stage compared to HSC-6 and HSC-7, respectively. These behaviors correlated with the ability to activate MMP-2, which could possibly drive cells intothe metastatic process. en
dc.description.sponsorship กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช en
dc.format.extent 16595897 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การเพาะเลี้ยงเซลล์ en
dc.subject เซลล์ไลน์ en
dc.subject คอลลาเจน en
dc.title อิทธิพลของคอลลาเจนต่อการแสดงออกของเอนไซม์ MMP-2 และ MMP-9 ในเซลล์ไลน์ที่เตรียมจากมะเร็ง สแควมัสเซลล์คาชิโนมา : รายงานผลการวิจัย en
dc.title.alternative Influence of collagen on the expression of MMP-2 and MMP-9 in squamous carcinoma cell lines en
dc.type Technical Report en
dc.email.author sneeracha@yahoo.com
dc.email.author prasitpav@hotmail.com, Prasit.Pav@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record