Abstract:
การทำศัลยกรรมแก้ไขไส้เลื่อนกระบังลมที่เสียหายมากด้วยแผ่นกล้ามเนื้อ rectus abdominis ที่มีส่วนต่อเชื่อม ทำในสุนัขป่วย 5 ตัวและแมวป่วย 12 ตัว ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเย็บซ่อมโดยตรง โดยผ่าเปิดช่องท้องตามแนวกลางตัวเพื่อเตรียมแผ่นกล้ามเนื้อ และเย็บเข้ากับขอบแผลของกระบังลม แบบ full-thickness และผนังช่องท้อง ประเมินผลการศึกษาจากผลการตรวจร่างกาย และอาการแทรก ซ้อนภายหลังศัลยกรรมเป็นระยะเวลา 3.5 – 9 เดือน โดยวิเคราะห์ค่าก๊าซในเลือดในวันที่ 3 และ 10 ภาพถ่ายรังสีในวันที่ 10, 30, 60 และ 90 ภาพถ่าย fluoroscopy ในวันที่ 30 และ 90 ภายหลังทำศัลยกรรม และการกลับเป็นซ้ำของไส้เลื่อนกระบังลม มีสุนัข 1 ตัวและแมว 2 ตัวเสียชีวิต สัตว์ป่วยทุกตัวที่มีชีวิตมี ลักษณะการหายใจเป็นปกติ และไม่พบการเกิดไส้เลื่อนกระบังลมซ้ำ ภาวะแทรกซ้อนภายหลังศัลยกรรม ได้แก่ รอบแผลผ่าตัดมีลักษณะบวมช้ำเล็กน้อย หายใจลำบากและมีอาการไม่อยากเคลื่อนไหวหรือ เคลื่อนไหวลำบากใน 2-3 วันแรกภายหลังการทำศัลยกรรม สุนัขที่เสียชีวิตมีสาเหตุจากระบบทาง เดินหายใจล้มเหลวและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ส่วน แมวเสียชีวิตจากติดเชื้อ FPV 1 ตัว และติดเชื้อในกระแส เลือดร่วมกับภาวะ IMHA 1 ตัว จากการวิเคราะห์ก๊าซในเลือดของสัตว์ที่มีชีวิต พบว่า สัตว์ป่วยมีการ แลกเปลี่ยนอากาศที่ปอด และประสิทธิภาพการหายใจเป็นปกติในวันที่ 10 ภายหลังทำศัลยกรรม จาก ภาพถ่ายรังสี สัตว์ป่วยมีลักษณะและแนวของกระบังลมใกล้เคียงกับสัตว์ปกติที่นำมาเปรียบเทียบ โดยใน ท่า lateral มีแนวของกระบังลมโค้งเข้าสู่ช่องอก ส่วนในท่า ventrodorsal พบว่าสัตว์ป่วยส่วนใหญ่มีจุด กึ่งกลางของแนวกระบังลมด้านที่ทดแทนด้วยแผ่นกล้ามเนื้ออยู่ต่ำ และมีความโค้งน้อยกว่ากระบังลมด้าน ตรงข้ามเล็กน้อย สำหรับลักษณะในช่องอกพบว่าปอดของสัตว์ป่วยทุกตัวขยายได้เต็มช่องอกตั้งแต่วันที่ 30 ภายหลังการทำศัลยกรรม จาก fluoroscopy พบว่าสัตว์ป่วยทุกตัวมีการเคลื่อนที่ของกระบังลมสัมพันธ์กับ การหายใจเข้าและออก การเคลื่อนที่ของตำแหน่ง diaphragmatic cupula และแนวของกระบังลมทั้ง 2 ด้านมีระยะใกล้เคียงกับของสัตว์ปกติ จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า กล้ามเนื้อ rectus abdominis สามารถใช้ในการซ่อมกระบังลมที่มีการฉีกขาดมากได้