Abstract:
การศึกษาวิวัฒนาการกระบวนทัศน์รัฐประศาสนศาสตร์ไทย พ.ศ. 2498-2551 มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะและขอบข่ายขององค์ความรู้รัฐประศาสนศาสตร์ไทยโดยใช้ กรอบกระบวนทัศน์และการเปลี่ยนกระบวนทัศน์เป็นเค้าโครงความคิด การศึกษามุ่งตอบ คำถามว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวกระบวนทัศน์รัฐประศาสนศาสตร์ไทย ประกอบด้วยกระบวนทัศน์กี่กระบวนทัศน์ อะไรบ้าง แต่ละกระบวนทัศน์ มีฐานคติ และแนวคิดทฤษฎี ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบทแวดล้อมอย่างไร ผลการศึกษาพบว่าระหว่าง พ.ศ. 2498-2551 กระบวนทัศน์ที่อยู่เบื้องหลังความคิดของนักวิชาการทั้งหลาย ประกอบด้วย 5 กระบวนทัศน์ ได้แก่ 1) กระบวนทัศน์หลักการบริหารแบบคลาสสิค (The Principles of Public Administration Paradigm) (พ.ศ.2498-2522) 2) กระบ วนทัศน์การจัดการ (The Management Paradigm) (พ.ศ.2522-2537) 3) กระบวนทัศน์ธรรมาภิบาล (The Good Governance Paradigm) (พ.ศ.2540-ปัจจุบัน) 4) กระบวนทัศน์การเมือง-การบริหาร (The Politics-Administration Paradigm) (พ.ศ.2498-ปัจจุบัน) และ 5) กระบวนทัศน์แบบไทย (The Thai-Paradigm) (พ.ศ.2498-ปัจจุบัน) อย่างไรก็ดี ข้อค้นพบจากการศึกษาพบว่า รูปแบบการเปลี่ยนกระบวนทัศน์รัฐประศาสนศาสตร์ไทยต่างจากตัวแบบของ Thomas S. Kuhn และได้รับอิทธิพลจากรัฐประศาสนศาสตร์อเมริกาอย่างมาก