Abstract:
การแปรงฟันสามารถลดอัตราฟันผุ อย่างไรก็ตามสำหรับเด็กวัย 9-18 เดือน ยังไม่มีการการปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เนื่องจากต้องการความชำนาญและแรงจูงใจจากผู้ดูแลเด็ก ผู้วิจัยจึงเลือกทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค (กระบวนการสร้างการรับรู้และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากความกลัว) เพื่อสร้างการตระหนักและความร่วมมือของผู้ดูแลเด็ก วัตถุประสงค์: ความเข้าใจและแรงจูงใจของผู้ดูแลเด็กเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในการลดอัตราการผุเพิ่มในเด็ก การศึกษานี้ออกแบบเพื่อเปรียบเทียบอัตราการเกิดฟันผุเพิ่มของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มของเด็กจำนวน 81 คนจาก จ.นครราชสีมา และผู้ดูแลเด็ก ได้รับการสุ่มให้เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษาประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค และได้รับการเสริมพฤติกรรม 2 ครั้ง ทุก 4 เดือน กลุ่มควบคุมได้รับการสาธิตการสอนแปรงฟัน มีการเก็บข้อมูลระยะเวลา 12 เดือน พบว่ากลุ่มทดลองมีอัตราการผุเพิ่มน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งสัมพันธ์กับความถี่ในการแปรงฟัน จากการวัดการรับรู้ และแรงจูงใจ ตัวแปรที่ดีที่สุดในการคาดคะเนพฤติกรรมการแปรงฟันคือ การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคฟันผุ และความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง สรุปผลการทดลอง ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคสามารถสร้างกระบวนการการรับรู้และสร้างแรงจูงใจ ในพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของเด็ก ให้แก่ผู้ดูแลเด็ก ส่งผลให้อัตราการผุเพิ่มในเด็กลดลงได้