dc.contributor.advisor |
ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์ |
|
dc.contributor.advisor |
ยง ภู่วรวรรณ |
|
dc.contributor.author |
ศัลยวิทย์ จิตต์มิตรภาพ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2013-07-03T03:11:23Z |
|
dc.date.available |
2013-07-03T03:11:23Z |
|
dc.date.issued |
2553 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32739 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
en_US |
dc.description.abstract |
ที่มาของการศึกษา การกลายพันธุ์ของโปรตีนพี 53 ที่ตำแหน่งโคดอนที่ 249 จากอาร์จีนีนเป็นซีรีน (R249S) เป็นลักษณะจำเพาะของการได้รับสารอะฟลาทอกซิน การประมาณการณ์ความชุกของการกลายพันธุ์นี้พบว่ามีความชุกระหว่างร้อยละ 7 ถึง 27 แต่เป็นการศึกษาขนาดเล็ก นอกจากนั้นไวรัสตับอักเสบบีซึ่งเป็นไวรัสที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยตับแข็งในประเทศไทย ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับในผู้ที่ได้รับสารพิษอะฟลาทอกซิน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักพื่อหาความชุกของการกลายพันธุ์ R249S ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับในประเทศไทย วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาชนิดย้อนหลังที่นำชิ้นเนื้อมะเร็งตับที่เก็บไว้ในพาราฟิน โดยชิ้นเนื้อดังกล่าวได้จากผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะตับหรือผ่าตัดตับที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ชิ้นเนื้อตับที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นมะเร็งตับปฐมภูมิ (Hepatocellular carcinoma) จะนำมาตรวจการกลายพันธุ์โดยวิธี Restriction fragment length polymorphism (RFLP) สารพันธุกรรมที่พบกลายพันธุ์ R249S โดยวิธี RFLP จะได้รับการยืนยันโดยวิธีการตรวจคู่เบส (sequencing) ผลการศึกษา พบการกลายพันธุ์ R249S ในเนื้อมะเร็งตับ 9 ตัวอย่างจาก 100 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 9 โดย 6 ตัวอย่างเป็นมะเร็งตับของผู้ที่มีแอนติเจน HBsAg และส่วน 3 ตัวอย่างล้วนแต่มีแอนติบอดี้ AntiHBc ความชุกของการกลายพันธุ์ R249S ในเนื้อมะเร็งตับกลุ่มที่มีแอนติเจน HBsAg เท่ากับร้อยละ 11.3 ซึ่งมากกว่าร้อยละ 6.4 จากกลุ่มที่ไม่มีแอนติเจนดังกล่าว แม้จะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ในผู้ป่วยมะเร็งตับ 100 รายพบ HBsAg เป็นบวก 53 ราย และ AntiHCV เป็นบวก 11 ราย ผลตรวจของชิ้นเนื้อตับที่ไม่ได้เป็นมะเร็ง 10 รายพบว่า ทั้งหมดมีไม่มีการกลายพันธุ์ R249S สรุป ความชุกของการกลายพันธุ์ R249S ในเนื้อมะเร็งตับของประเทศไทยมีประมาณ ร้อยละ 9 อาจอนุมานได้ว่าการได้รับสารอะฟลาทอกซินยังคงเป็นปัญหาในผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนหนึ่งของประเทศไทย อย่างไรก็ตามการแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงถั่วลิสง พริกป่น หรือข้าวโพดอาจยังไม่มีความจำเป็นที่ชัดเจน เพราะไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ว่าการหลีกเลี่ยงอาหารจะลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับ และมะเร็งตับของประเทศไทยก็มีเพียงส่วนน้อยที่เกี่ยวข้องกับสารอะฟลาทอกซิน |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Background: Missense hot spot mutation of p53 tumor suppressor gene on codon 249 or R249S was characteristic of aflatoxin exposure. Base on the few studies with small samples size, prevalence of R249S mutation in Hepatocellular carcinoma (HCC) in Thailand was 7-27 %. Moreover, Aflatoxin was believed to had synergistic effect on Hepatitis virus B (HBV) carcinogenesis. R249S prevalence was higher in patients with HBV surface antigen (HBsAg) positive than one who was not infected with HBV. Therefore, aim of this study is to determine the prevalence of this R249S mutation in patients with hepatocellar carcinoma Methods: The study was retrospective descriptive study. 100 paraffin embedded liver tissues from patient who underwent liver resection and liver biopsy in King Chulalongkorn Memorial Hospital were studied. All of them had pathological diagnosis of HCC. Restriction fragment length polymorphism (RFLP) was utilized to detect R249S mutation. Positive results were confirmed by direct sequencing. Results: R249S mutation was found in 9 specimens (9 %), 6 of 9 were HBsAg positive. Fifty-three of 100 patients had HBsAg, 11 were positive for HCV antibody . R249S prevalence among HCC patients with positive HBsAg were 11.3 % compared to 6.4 % of HBsAg negative group, but the difference was not reach statistical significance. No R249S mutation was detected in 10 liver tissue specimens without hepatocellular carcinoma. Conclusion: Prevalence of R249S mutation in Thailand was 9 %. Aflatoxin exposure may not be a major risk factor of HCC in Thailand. However it is controversy to advise the patients to strictly avoid eating peanut, corn and chili. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1708 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ตับ -- มะเร็ง |
en_US |
dc.subject |
ตับ -- มะเร็ง -- การวินิจฉัยโรค |
en_US |
dc.subject |
ตับ -- มะเร็ง -- สมุฏฐานวิทยา |
en_US |
dc.subject |
อะฟลาท็อกซิน |
en_US |
dc.subject |
โปรตีนพี 53 |
en_US |
dc.subject |
ยีนต้านมะเร็ง |
en_US |
dc.subject |
แอนติเจนตับอักเสบบี |
en_US |
dc.subject |
ไวรัสตับอักเสบบี |
en_US |
dc.subject |
Liver -- Cancer |
en_US |
dc.subject |
Liver -- Cancer -- Diagnosis |
en_US |
dc.subject |
Liver -- Cancer -- Etiology |
en_US |
dc.subject |
Aflatoxins |
en_US |
dc.subject |
p53 protein |
en_US |
dc.subject |
Antioncogenes |
en_US |
dc.subject |
Hepatitis associated antigen |
en_US |
dc.subject |
Hepatitis B virus |
en_US |
dc.title |
ความชุกของการกลายพันธุ์ของโปรตีนพี 53 ที่ตำแหน่งโคดอนที่ 249 จากอาร์จีนีนเป็นซีรีนในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่มีและไม่มีแอนติเจนของไวรัสตับอักเสบบีในประเทศไทย |
en_US |
dc.title.alternative |
Prevalence of arginine to serine p53 mutation at codon 249 (R249S) in Hepatocellular Carcinoma of patients with and without serum Hepatitis B surface antigen in Thailand |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
อายุรศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
pkomolmit@yahoo.co.uk |
|
dc.email.author |
yong.P@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2010.1708 |
|